การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์และการตระหนักถึงลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิส ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รุ่งทิวา รัตนามาศ
กรวรรณ สืบสม
นพรัตน์ หมีพลัด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติการละเมิดลิขสิทธิ์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิสของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิสของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาการตระหนักถึงลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิสของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีทั้งหมด 5 คณะเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์และการตระหนักถึงลิขสิทธิ์ภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิส อยู่ในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามในการละเมิดลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิส อยู่ในระดับปฏิบัติบางครั้ง 3) การตระหนักถึงลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์บนวีดีโอสตรีมมิ่งเซอร์วิสของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ามีนักศึกษาจำนวนมากที่ให้ความสนใจกับวิดีโอสตรีมมิ่งและมีการตระหนักถึงลิขสิทธิ์แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นบางครั้ง ดังนั้นจะต้องมีการให้ความรู้และความเข้าใจในการตระหนักถึงลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้เห็นความสำคัญของลิขสิทธิ์มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2560). กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ก้อนแมฆ.

ชัยศิริวารินทร์ วีรฉัตร. (2563). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นผู้สร้างสรรค์ในงานสร้างสรรค์บนสื่อออนไลน์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537. นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นันทพงศ์ อินทอง และ วรเดช จันทรศร. (2561). การประเมินนโยบายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์งานภาพยนตร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 74. เข้าถึงได้จาก http://library.siu.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/SIU-THE-T-IPAG-DPA-2018-03-นายนันทพงศ์-อินทอง-บทคัดย่อ.pdf

พิเชฐ คุ้มพะเนียด. (2556). ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: ศึกษากรณีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิมพ์ชนก ฟุ้งสิริรัตน์ (2563). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคตลาดสตรีมมิ่งด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบคอน จอยท์ (Consumer Behavioral Analysis on Streaming Video using the Conjoint Analysis Technique), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิชุดา ธนาพุฒิภรณ์และสราญรัตน์ ลีลาศิริวนิชย์ สมหมาย จันทร์เรือง. (2020). ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานนิเทศศาสตร์. วารสารวิชาการ นิเทศสยามปริทัศน์, 195.

ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2554). ลิขสิทธิ์(Copyright). เข้าถึงได้จาก ทรัพย์สินทางปัญญา: http://tuipi.tu.ac.th/tuip04.php

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔. เข้าถึงได้จาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา: https://dictionary.orst.go.th/

All Service ศูนย์รวมบริการกระทรวงพาณิชย์. (2558). ความหมายของลิขสิทธิ์. เข้าถึงได้จาก https://www.moc.go.th/index.php/2015-11-04-10-05-18/item/42-282-copy.html

Cerone, A. (2552). Formal Analysis of Security in Interactive Systems. เข้าถึงได้จาก IGI Global publisher of timely knowledge: https://www.igi-global.com/dictionary/security-protocol/26119

Herz, B. & Kiljański, K. (1 February 2018). Movie piracy and displaced sales in Europe: Evidence from six countries. เข้าถึงได้จาก ScienceDirect: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S016762451730152X

Bowena, K. & Bartulab, A. (2020). A comparison of a public and private university of the effects of low-cost streaming services and income on movie piracy. Texas: University of North Texas at Dallas, USA.

Prajadhipok. (13 พฤศจิกายน 2020). File:พรบ คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พศ ๒๔๗๔.pdf. เข้าถึงได้จาก Commons Wikimedia: https://commons.wikimedia.org//wiki/File:พรบ_คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม_พศ_๒๔๗๔.pdf#filehistory

Jha, A. K. & Rajan, P. (2021). Movie piracy: Displacement and its impact on legitimate sales in India. เข้าถึงได้จาก Wiley Online Library: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/jwip.12190

Smith, M. D. & Telang, R. & Zhang, Y. (2019). I Want You Back: The Interplay Between Legal Availability and Movie Piracy. เข้าถึงได้จาก International Journal of the Economics of Business : https://doi.org/10.1080/13571516.2019.1553293