การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสู่งานอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนลันตาราชประชาอุทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสู่งานอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนลันตาราชประชาอุทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ได้ประยุกต์แนวทางการประเมินของ Stufflebeam โดยประเมิน 7 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มตัวอย่างในการประเมิน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ผู้ประกอบการ/หัวหน้างานและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามและเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพพบว่า ด้านบริบท มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โครงการมีความพร้อมในการดำเนินงานและบริหารจัดการ ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แหล่งเรียนรู้ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก กิจกรรมนั้นทำให้นักเรียนได้นำทักษะที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ด้านผลกระทบมีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้านประสิทธิผลมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความสามารถในด้านการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ ด้านความยั่งยืนมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการโครงการสามารถเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นได้ และด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โครงการสามารถเป็นแบบอย่างของโครงการให้กับโรงเรียนอื่นหรือผู้ที่สนใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
ฐานิดา พาราษฎร์. (2559). ประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. วิจัยและประเมินผลการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประเทือง ใจหาญ. (2556). "การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้กิจกรรมการละคร". กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสณุ ฟองศรี. (2558). เทคนิคประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที. 4. กรุงเทพฯ : พรอพเพอร์ตี, พริ,นท์.
มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2557). การพัฒนาแนวทางประกอบการใช้กรอบแผนการจัดการศึกษา ตลอดชีวิต มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีพท้องถิ่น: เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ กับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2560). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2558). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : ออพเซทอาร์ท ออโตเมชั่น.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2557). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุพักตร์ พิบูลย์. (2561). ชุดเสริมทักษาการประเมินโครงการ. นนทบุรี : จตุพรดีไซน์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายก
สร้อยเพชร ชารินทร์. (2556). ประเมินโครงการพัฒนาวินัยเด็กและเยาวชนโรงเรียนโคกสำโรง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิจัยและประเมินผล การศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Faerch, C. & Kasper, G. (2000).Career Education in the Middle/Junior High School. Salt Lake City, Utah: Olympus Publishing Company.
Stufflebeam, L.D. (2000). Educational Evaluation Theory and Proactive. Llinois : Peacook.