การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

ปัญญา ศรีเพชรสุพรรณ
กัญจนรัตน ศรีเพชรสุพรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในประเด็นการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เพื่อเป็นข้อเสนอว่ารัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดควรต้องกำหนดคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีให้ชัดเจนหรือไม่ว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสะท้อนการเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ผลการวิเคราะห์ พบว่า (1) การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษมี ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด ประเทศอินเดียกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาไดเอท (Diet) ที่มาจากการเลือกตั้ง และ (2) การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย พบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดนายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพียงแต่กำหนดไว้ว่าต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ว่าจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง จึงทำให้บุคคลที่สามารถถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

Article Details

How to Cite
ศรีเพชรสุพรรณ ป., & ศรีเพชรสุพรรณ ก. (2024). การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารนครรัฐ, 1(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CS_J/article/view/385
บท
บทความวิชาการ

References

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2561). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิญญูชน.

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475. (2475). ราชกิจจานุเบกษา, 49, 166-179.

มานิตย์ จุมปา. (2557). หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา, 109(95), 1-3.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517. (2517). ราชกิจจานุเบกษา, 91(169 พิเศษ), 1-90.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา, 114(55 ก), 1-99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124(47 ก), 1-127.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40 ก), 1-90.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475. (2475). ราชกิจจานุเบกษา, 49, 529-551.

Lijphart, A. (1992). Parliamentary versus presidential government. Oxford University Press.

Ministry of Law and Justice. (2022). The Constitution of India. Retrieved from https://cdnbbsr.s3waas.gov.in/s380537a945c7aaa788ccfcdf1b99b5d8f/uploads/2023/05/2023050195.pdf

Prime Minister’s Office of Japan. (2023). The Constitution of Japan. Retrieved from https://japan.kantei.go.jp/constitution_and_government_of_japan/constitution_e.html