หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: การศึกษาเชิงสำรวจ
คำสำคัญ:
ไวยากรณ์บาลี, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, อักษรอริยกะบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางสารัตถะและโครงสร้างของหนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2385) โดยการวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับไวยากรณ์บาลีอื่น ๆ โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี ได้แก่ คัมภีร์มูลกัจจายน์ และหนังสือไวยากรณ์บาลีที่แต่งขึ้นโดยนักวิชาการตะวันตก ได้แก่ Compendious Pali Grammar with a copious Vocabulary in the same Language (1824) โดยReverend Benjamin Clough การวิจัยนี้มุ่งการศึกษาเชิงสำรวจเอกสาร โดยใช้ฉบับถ่ายเอกสารแบบเรียนไวยากรณ์บาลีอักษรอริยกะที่ได้รับมาจากพระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจแบบเรียนไวยากรณ์บาลีอักษรอริยกะ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ลำดับเนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา วิธีการนำเสนอ แล้วนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีอื่น
ผลวิจััยพบว่า 1) หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะมีการนำเสนอเนื้อหาโดยย่อ 2 เรื่อง ได้แก่ อักขระและนามเท่านั้น เรื่องนามมีการนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย คือ นามศัพท์และกติปยศัพท์ มีการแสดงคุณสมบัติของนาม การใช้ตารางในการแสดงรูปสำเร็จ พร้อมศัพท์ตัวอย่างสำหรับแจกตาม และมีเนื้อหาสรุปกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์บาลีบางส่วน โดยการใช้ฉันทลักษณ์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ 2) หนังสือบาลีไวยากรณ์อักษรอริยกะนี้มีวิธีการนำเสนอเนื้อหายึดตามคัมภีร์มูลกัจจายน์และมีโครงสร้างคล้ายกับหนังสือไวยากรณ์บาลีของนักวิชาการชาวตะวันตกที่ทำขึ้นก่อนหน้าแบบเรียนนี้ คือ Compendious Pali Grammar with a copious Vocabulary in the same Language (1824) โดย Reverend Benjamin Clough เช่น การใช้ตารางในการแสดงรูปสำเร็จ เป็นต้น
References
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า. (2546). ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพมหานคร: คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร. (2564). “คู่มือเรียนอริยกะ”. ใน ธรรมยุต (DHAMMAYUT). เรียกใช้เมื่อ 5 มีนาคม 2568 https://dhammayut.org/wp- content/uploads/2021/01/%E0%B8%84%E0%B8%B9
%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B0.pdf
ธวัช ปุณโณทก. (2549). อักษรไทยโบราณ ลายสือไทย และวิวัฒนาการของชนชาติไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์. (2564). “ตามหาหนังสืออักษรอริยกะที่เหลืออยู่เล่มเดียวในโลก ณ
กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย.” ใน ธรรมยุต (DHAMMAYUT). เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2568 จาก https://dhammayut.org/wp- content/uploads/2021/01/ตามหาล่าหนังสืออังษรอริยกะ.pdf
วันทนีย์ ส่งศิริ. (2525). การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สันติ บัณฑิตพรหมชาติ. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันสงฆ์ : ศึกษากรณีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิกฺขามุขํ ปทมาลา & วิธานํ. (2385). พระนคร: โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2538). ไวยากรณ์บาลีตามแนวกัจจายนวยากรณ์ โมคคัลลานวยากรณ์และสัททนีติปกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Clough, B. (1824). Compendious Pali Grammar with a copious Vocabulary in the same Language. Colombo: Wesleyan Mission Press. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2568 จากhttps://archive.org/details/acompendiouspal00tolfgoog