รูปแบบการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • เอกอาทิตย์ ยันตะบุศย์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการทำบุญ, ชาวพุทธ, กการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษารูปแบบการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 3) นำเสนอแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการทำบุญของชาวพุทธในพระพุทธศาสนาเริ่มด้วยการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา ซึ่งเป็นแก่นแท้ของหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมไปถึงการทำบุญตามประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น 2. รูปแบบและแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ชาวพุทธได้ปรับแนวทางการทำบุญเพื่อความปลอดภัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก 1. งานมงคล เช่น การทำบุญทอดผ้าป่า, งานบวช, และการตักบาตร มีการรักษาระยะห่าง, สวมหน้ากากอนามัย, ใช้เจลแอลกอฮอล์, จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม, และถ่ายทอดสดออนไลน์เพื่อให้ผู้คนเข้าร่วมทางไกล นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียมอาหารแบบแยกและควบคุมเวลาในการจัดกิจกรรม 2. งานอวมงคล เช่น งานฌาปนกิจศพ มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม, คัดกรองอุณหภูมิ, จัดที่นั่งให้มีระยะห่าง, ใช้ภาชนะอาหารส่วนบุคคล, และทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ 3. นำเสนอแนวทางการทำบุญของชาวพุทธในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดังนี้ การทำบุญในงานมงคล คือ การจัดกิจกรรมต้องมีมาตรการป้องกัน เช่น เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ใช้เทคโนโลยีในการบริจาค เช่น โอนเงินออนไลน์ หรือถ่ายทอดสดพิธีผ่านสื่อออนไลน์ และการทำบุญในงานอวมงคล คือ การจัดงานฌาปนกิจต้องรักษามาตรฐานสุขอนามัย เช่น การจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมการเตรียมอาหารที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงมาตรการในการรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ

References

พระครูไพศาลธรรมานุสิฐ (ถนอม ภิญโญจิต). (2546).การศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างการให้ทานในพระสุตตันตปิฎกกับการปฏิบัติในลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). การศึกษาทางเลือกสู่วิวัฒนหรือวิบัติในยุคโลกไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พุทธรรมฉบับขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการกฤษณะ ธนปญฺโญ (2563). ศึกษาวิเคราะห์การจัดงานสังฆทานเพื่อการพัฒนาของคณะสงฆ์อำเภอศรีรัตนะจังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจรอุบลปริทรรศน์, 5(1), 81.

พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ. (2563). New Normal: การปรับตัวเพื่อการศึกษาตามแนว พระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์, 7(9), 56-70.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรศิริ คำวันสาและคณะ. (2565). การสร้างกระบวนการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 357.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20