ความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู, ครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 33 คน และครูจำนวน 277 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ปีการศึกษา 2567 รวม 310 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตาราง ของเครซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนตามจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบสนองรายคู่ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน จำนวน 21 ข้อ มีค่าความตรง ระหว่าง 0.67 - 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.33-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.951 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธี Modified Priority Needs Index (PNI modified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของครู ในภาพรวม มีค่าดัชนี PNI modified เท่ากับ 0.48 ถือว่ามีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการส่งเสริม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ ด้านทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของครู (PNI modified=0.54) ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสมของครู (PNI modified=0.53) ด้านทักษะการสื่อสารดิจิทัลของครู (PNI modified=0.49) ด้านทักษะการจัดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล(PNI modified=0.46) และด้านทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของครู (PNI modified=0.37) ตามลำดับ และทั้ง 5 ด้านดังกล่าวถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ธนวัฒน์ เจริญษา. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร.
รุ่งฤดี ศิริ. (2565). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต1. มหาวิทยาลัยนครพนม. สืบค้นจาก https://so04.tci-
thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/256034
สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิตอล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและ
เยาวชน.
สุมาลี สุนทรา.(2566). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/
article/view/267181/180575
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. รายงานผลการดำเนินงาน
ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2566.
จากhttps://drive.google.com/file/d/1Od35T_XFr L5puTjneU8BjGGFOb
_JHSWI/view
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัล
สำหรับครู. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.