ความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ธารนันท์ สุขสมโภชน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อรสา จรูญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, โรงเรียน, ชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของยามาเน (Yamane, 1973) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 399 คน แล้วสุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.44, S.D. = .25) สภาพที่พึงประสงค์ของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.50, S.D. = .29)  
2) ความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความต้องการจำเป็นของความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดัชนีความต้องการจำเป็นได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ การให้บริการชุมชน (PNImodified = .02) รองลงมาคือ การประชาสัมพันธ์ (PNImodified = .01) การรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน (PNImodified = .01) และการให้ชุมชนมีส่วนร่วม (PNImodified = .00)

References

กฤตเมธ ธีระสุนทรไท. (2562). การประเมินความต้องการจาเป็นของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

กัญจนพร ศรีมงคล. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.

ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จารุภา ทรัพย์มี. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในกลุ่มศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน งานนิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(26), 118-129.

ธีวรัตน์ ไชยสิทธิ์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนพระแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 569-580.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ประจักษ์ ฟักกระโทก. (2565). กระบวนทัศน์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ: พหุกรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มัลลิกา แก้วจ้อน. (2565). สภาพการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

รณกร ไข่นาค, ประยูร แสงใส และพระครูกิตติญาณวิสิฐ. (2562). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6(1), 133 - 144.

วรรณา โฉมฉิน. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นของการดาเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20