การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

ผู้แต่ง

  • นันดะ วันทา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พุทธิพล เก่งไฉไล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ชูเกียรติ ทำบุญ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • จามจุรี ไพศาลกระสินธุ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • วริศรา พิทักษ์ดำรงสุข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การเรียนภาษาอังกฤษ, การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอกในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลทั่วไป 2. แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ และ 3. ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการสร้างแรงจูงใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมเอสพีเอสเอสสำหรับวินโดวส์ (SPSS) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้แก่ แรงจูงใจภายใน เช่น ความสนใจ ความสนุกในการเรียน และเป้าหมายส่วนตัว และ แรงจูงใจภายนอก เช่น ความคาดหวังจากครอบครัว และความจำเป็นในการหางาน โดยแรงจูงใจภายในมีผลมากกว่า นักศึกษามีแรงจูงใจภายในในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ฉันรู้สึกมีความสุขเมื่อสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้   (  = 4.77, S.D. = 0.43) และข้อที่ต่ำสุดคือ ฉันเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง (  = 4.13, S.D. = 0.96) สำหรับแรงจูงใจภายนอก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ฉันเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มโอกาสในการหางาน           (  = 4.74, S.D. = 0.50) และข้อที่ต่ำสุดคือ ภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับจึงจำเป็นต้องเรียน                         (  = 3.79, S.D. = 0.29) และ 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจภายในและภายนอกพบว่า นักศึกษามีแรงจูงใจภายในสูงกว่า โดยเฉพาะด้านความสนุกและความพึงพอใจจากการเรียน ขณะที่แรงจูงใจภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง เช่น การตอบสนองความคาดหวังของครอบครัวและการพัฒนาทักษะอาชีพ ผลการวิเคราะห์แสดงว่าแรงจูงใจทั้งสองแบบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15.

ทัศนีย์ จันติยะ. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

มณัญญา มานะรัชศักดิ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(2), 367 – 381.

รักษมน ยอดมิ่ง. (2562). แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ระบบการจัดการเรียนรู้มายคอร์สวิลลในชั้นเรียน. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 81 - 91.

สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล และ ศิริโสภา แสนบุญเวช (2562). การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

อดิศักดิ์ ย่อมเยาว์. (2560).ปัญหาการใช้ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ในจังหวัดเชียงราย.บทความวิจัย,สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 56 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

Wimolmas, R. (2012). A Survey Study of Motivation in English Language Learning of First Year Undergraduate Students at Sirindhorn International Institute of Technology (SIIT), Thammasat University. Thammasat University, Thailand. [Master’s thesis, (Thammasat University)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-09