คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ทองทิพย์
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ -
  • รพีพร ธงทอง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เกษตรกร, ข้าวหอมมะลิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2. วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกองตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ คือ 1. ผู้ใหญ่บ้าน 2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3. คณะกรรมการหมู่บ้าน และ 4. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาประเด็นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ด้านร่างกาย พบว่า ประชาชนมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายอันเนื่องจากการทำการเกษตร ด้านจิตใจ พบว่า สภาพจิตใจของประชาชนนั้นขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตที่ตนจะได้รับ หากผลผลิตขายได้ในราคาสูงก็จะส่งผลให้เกษตรกรมีสภาพจิตใจดีขึ้น ด้านสังคม พบว่า ประชาชนที่อยู่ร่วมกันภายในชุมชนไม่ได้มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งหรือมีปากเสียงกัน ประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ด้านร่างกาย พบว่า ประชาชนควรจะทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและเมื่อเจ็บป่วยควรทำการรักษา ณ โรงพยาบาลของภาครัฐหรือภาคเอกชน ด้านจิตใจ พบว่า ควรทำจิตใจให้เข้มแข็ง ปรึกษาญาติพี่น้องเมื่อเกิดปัญหา หรือการเข้าวัดทำบุญเพื่อให้จิตใจสงบซึ่งจะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้านสังคม พบว่า ประชาชนที่อยู่ร่วมกันภายในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน

References

ชัยวัฒน์ปัญจพงษ์. 2526. ประชากรศึกษา. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ. สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัณณิน กิติพราภรณ . (2531). ชีวิตที่มีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

ระวี ภาวิไล. (2523). คุณภาพชีวิต จดหมายข่าวสภาวะแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสภาพแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สโรชิน หน่อรัตน์. (2558). การรับรู้ผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรผู้ปลูกข้าวต่อการเปิดการค้า เสรีไทยจีน ในพื้นที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2533). ระบบการศึกษาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวอย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2553). พจนานุกรมเศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

Thai PBS. (2566). “ข้าวหอมมะลิไทย” เสน่ห์ข้าวไทย หอมไกลทั่วโลก. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/325665.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

ทองทิพย์ อ. ., ราชจันทร์ พ. ., & ธงทอง ร. . (2025). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่บ้านหินกอง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 76–87. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/926