แนวทางการพัฒนากระบวนการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
กระบวนการขอรับทุน, การวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน, ทุนสนับสนุนการวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและศึกษา แนวทางการพัฒนากระบวนการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย คือ มีคณะกรรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่หลากหลาย และกระบวนการในการคัดเลือกใช้ระยะเวลานาน ขั้นตอนการเปิดบัญชีธนาคารที่ล่าช้าและขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณที่ยุ่งยาก และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการขอรับทุนไม่ทั่วถึง 2) แนวทางการพัฒนากระบวนการขอรับทุนวิจัยสถาบัน คือ ควรมีการจัดสัมมนาระหว่างนักวิจัยกับผู้ที่ให้คำปรึกษา เพื่อให้คำปรึกษากับนักวิจัยที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำในการขอทุนวิจัย มีการจัดเวทีที่อบรมให้ความรู้ในเรื่องการทำวิจัย ควรลดข้อจำกัดกฎเกณฑ์ของทุนวิจัยสถาบันในด้านการใช้งบประมาณ และควรลดขั้นตอนเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณ สร้างแรงบันดาลใจหรือสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยได้ทำวิจัยและมีการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ มีการใช้สื่อ Social Media ในการติดต่อสื่อสาร และจัดเวที Show and Share
References
กองบริหารงานวิจัย. (2564). ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564, จาก https://rad.kku.ac.th.
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 17-30.
ขวัญนคร สอนหมั่น. (2563). ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการวิจัยของคณาจารย์ กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสถาบัน มข, 1(1), 101-111.
ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(43), 1-29.
นนนุชนาถ กระแสโท. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 43-53.
นพวรรณ รื่นแสง และวรวรรณ สโมสรสุข. (2559). ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินโครงการวิจัยของผู้รับทุนสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิจัยพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 207-218.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประวิชญา ณัฏฐากรกุล. (2559). ปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำวิจัย. วารสารราชพฤกษ์, 14(1), 60-68.
ภควรรณ สีสวย และเพ็ญศรี ชื่นชม. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์. วารสารศิลปศาสตร์, 7 (1), 173-190.
มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. (2564). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 329-343.
สนทนากลุ่ม. (2564). สภาพปัญหาและแนวทางในการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย. 8 ตุลาคม 2564.
อรนุช ศรีคำ และคณะ. (2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 157-169.
อรุณี เฮงยศมาก และคณะ. (2563). เงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยของอาจารย์พยาบาลเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12 (2), 265-276.