ศึกษาความสัมพันธ์ของปฎิจจสมุปบาทกับธาตุ 18 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนากรรมฐาน

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาสุรัตน์ สุรตโน -

คำสำคัญ:

ปฎิจจสมุปบาท, ธาตุ 18, การเจริญวิปัสสนาภาวนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิจจสมุปบาทและธาตุ 18 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ศึกษาความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทกับธาตุ 18 ในการเจริญวิปัสสนา และวิเคราะห์ปัจจยาการและดุลยภาพของปฏิจจสมุปบาทกับธาตุ 18 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) ใช้ข้อมูลปฐมภูมิพระไตรปิฎก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นความสำคัญมีคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการบรรลุหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความกลัวทั้งหลายเหล่านี้จะมีสิ่งที่จะช่วยคือ ความเป็นอมตธรรม คือธรรมที่ตั้งอยู่มานานแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพบเจอ พิจารณาที่จะออกจากทุกข์ โดยการแสดงเพื่อสรรพสัตว์ผู้มีปัญญาได้หลุดพ้น ส่วนคำว่า ธาตุ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแล้วตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ธาตุ 18 ในพระพุทธศาสนา ก็กล่าวโดยสรุป คือ สิ่งมีอยู่แล้ว คือ ตา การมองเห็น หู  การได้ยิน จมูก การได้กลิ่น ลิ้น การรับรู้ทางรส กาย การสัมผัสทางกาย ใจ การสัมผัสทางใจ นั่นเอง

ความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทกับธาตุ 18 และวิธีการปฏิบัติ ปฏิจสมุปบาทได้ชื่อว่า ธรรมที่อาศัยการเกิดขึ้นของกันและกันเมื่อเรามาพิจารณาเหตุแห่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากสภาวะต่างการเห็นการได้ยินได้กลิ่นได้รับรู้รส ได้รับรู้ทางกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง จนเกิดเป็นการรับรู้ทางใจ ส่วนคำว่าธาตุ 18 นั้นเป็นการรับรู้พิจารณาสิ่งที่มี เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังขาร ธาตุก็เช่นเดียวกัน มีธาตุรับ ธาตุกระทบ และธาตุรู้ คือ ตา เห็นรูป หู ได้ยินเสียง จมูก ได้กลิ่น ลิ้น รับรส กายรับโผฏฐัพพะ ใจรับรู้ถึง รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหลาย ความเป็นไปทั้งมวลในสิ่งมีชีวิต และอิทัปปัจจยตา คือ ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย และ ปัจจยาการ อาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัย โดยทั้งสองเหตุเป็นเหตุเป็นผลที่ต้องเกี่ยวข้องกัน ปฏิจจสมุปบาทมี 2 สาย คือ สายเกิดทุกข์ (สมุทยวาร) กับ สายดับทุกข์ (นิโรธวาร) ดังนั้น ปัจจยาการที่เกี่ยวข้องกับธาตุ 18 คือกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยสรรพสิ่งทั้งปวงในจักรวาล มีความเป็นระเบียบ และมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เป็นเหตุเป็นผลต่อกันที่แน่นอน

References

บรรจบ บรรณรุจิ. “ปฏิจจสมุปบาท : ขั้นตอนการรู้แจ้งความจริงของพระพุทธเจ้า และการปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาสังคม”. บทความวิชาการ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561).

พระโกษา อินฺทปญฺโญ (นิติศร). ศึกษาธาตุ 5 กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2562).

พระจาตุรงค์ ชูศรี. การเข้าใจชีวิตบนพื้นฐานแนวคิดเรื่องธาตุ 18. บทความวิชาการ. วารสารพุทธมัคค์ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ความเป็นอนิจจังของสังขาร กับอิสรภาพของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กันยายน 2552.

พระมหาธีรภัทร์ ชินอตฺตโน (วิลัยรัตน์). ศึกษาหลักธรรมและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

พระอธิการทันจิต คุณธมฺโม. ศึกษาหลักการกำหนดรู้ธาตุ 18 เป็นอารมณ์ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

พุทธทาสภิกขุ. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ, 2521.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

นภากร ศรีสม. (2567). การจัดการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อเสริมสร้างสันติภาพ. บทความวิชาการ. วารสารเมธีวิจัย, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม –มิถุนายน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-23

How to Cite

สุรตโน พ. . (2025). ศึกษาความสัมพันธ์ของปฎิจจสมุปบาทกับธาตุ 18 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนากรรมฐาน. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(1), 27–35. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/874