แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา -

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานราก, ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบการอภิปรายผล

ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความร่วมมือ ด้านพฤติกรรมจิตอาสา และด้านการส่งเสริมและพัฒนา ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากสู่ศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง อย่างมีนียสำคัญ ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (X4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X3) และ ด้านการบริหารจัดการ (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 .278 และ .044 ตามลำดับ และ (3) ควรมีการบริการการค้าหลังการขาย มีการสร้างความคุ้นเคย ความสนใจมีอาคารหรือกลุ่มของอาคารที่มีการพัฒนาพื้นที่แบบมิกซ์ยูสและพื้นที่ศูนย์การค้า ผลิตภัณฑ์ที่ขายในศูนย์การค้าที่มีความทันสมัย ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการประชาสัมพันธ์การค้าที่นักลงทุนเข้ามาพัฒนาเมืองตลอดการพัฒนาการมุ่งเน้นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในการบริหารจัดงการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิผล

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ . พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

กรมการศาสนา. (2566). มาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปีงบประมาณ 2566. รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของกรมการศาสนา.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). แนวทางการดำเนินงานนโยบายสานพลังประชารัฐในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรมการพัฒนาชุมชน. สำนักเสริมสร้างความ.

จารุวรรณ ประวันเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 20(1), 99 - 108.

ทวีป บุตรโพธิ์. (2560). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, กิรติ คเชนทวา. (2562). ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(53), 87 – 108.

ปัณณวิชญ์ แสงหล้า, พระมหาสมมาส ชุติมนฺโต (พงษ์สุพรรณ), สหพร แสงวันดี ประสิทธิ์ แสงทับ. (2565). การพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(3), 290 – 303.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหนคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สมเกียรติ สุทธินรากร. (2562). การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาแบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

How to Cite

สิทธิวงษา บ. . (2024). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน . วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 1(6), 35–45. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/793