การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา บ้านโนนสัมพันธ์ ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อารีญา เชิดชน
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ -
  • ณัฐพงษ์ ราชมี
  • สุพัฒนา ศรีบุตรดี
  • วรฉัตร วริวรรณ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, เกษตรกร, ยางพารา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมการหมู่บ้าน 4) เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และ 5) ประชาชน รวมทั้งสิ้น 21 คนแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาประเด็นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา พบว่า คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย โดยชาวเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งหลังจากที่ได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามักจะเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาการปวดขา ปวดแขน ปวดเอว ปวดหลัง ปวดไปตามร่างกาย อีกทั้งยังรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ 2) ด้านอารมณ์ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละวันแต่ละปี แต่โดยปกติแล้วเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราต่างเป็นคนอารมณ์ดี พูดคุยกับเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าหากเกิดสถานการณ์ที่ไม่ดีขึ้นกับสวยางพารา เช่น โดนลักลอบขโมยก้อนยางพารา ยางพาราน้ำยางไม่ไหลตามที่คาดหวังไว้ ต้นยางพาราไม่เจริญเติบโต ก็จะทำให้เกษตรกรมีอารมณ์ที่ไม่ค่อยดี เกิดความโมโห และคิดหนักเกี่ยวกับผลผลิต 3) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยก่อนที่จะเริ่มมีการปลูกยางพาราสภาพแวดล้อมต่างๆ ของชาวเกษตรกรนั้นก็จะเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้และต้นไม้ใหญ่อยู่เป็นระยะ ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณไร่นา แต่พอเกษตรกรเริ่มที่จะทำการปลูกยางพารานั้นก็จะเริ่มมีการตัดต้นไม้ออก 4) ด้านสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการเปลี่ยนจากการจ้างคนงานมาเป็นทำงานด้วยตนเอง เนื่องจากราคายางพาราที่ตกต่ำลงและราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น จึงส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรง 5) ด้านความคิด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรมีความคิดที่อยากจะปลูกยางพารานั้น มาจากเห็นคนอื่นที่เขาปลูกยางพาราแล้วเขาประสบความสำเร็จ มีเงิน มีทอง มีรถยนต์ ร่ำรวยหลังจากที่เขาทำการปลูกยางพารา อีกทั้ง ยางพารายังได้ผลผลิตตลอดปี

   

References

กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ. (2535). การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในวิธีดำเนินงาน วางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

คู่มือการปลูกยางพารา. (2555). คู่มือที่ 16 การปลูกยางพารา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มูฟเม้นท์ เจน ทรี จำกัด.

เชาวนี คำโฮม. (2545). ผลการดำเนินงานโครงการปลดโซ่ตรวนผู้ป่วยจิตเวชจังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2545. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข : การประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด.

ฑิตยา สุวรรณะชฎ. (2527). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

ณัฐพล ขันธไชย. (2527). แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาชนบทในการบริหารงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2534). ทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท. ในเอกสารการสอนชุดวิชา คหกรรมศาสตร์กับการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์และพูนศิริ วัจนะภูมิ. (2534). ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2533). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. ในเอกสารการสอนชุดวิชา การแนะแนวกับการพัฒนา คุณภาพชีวิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิพนธ์ คันธเสรี. (2525). มนุษย์สัมพันธ์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสตรีเนติศึกษา.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้. กรุงเทพฯ.

พระมหาเจิม สุวโจ และคณะ. (2541). ทบบาทของพระสงฆ์ในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้. กรุงเทพฯ : หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยอนุเคราะห์.

ระวี ภาวิไล. (2523). คุณภาพชีวิตจดหมายข่าวสภาวะแวดล้อม. สถาบันวิจัยสภาพแวดล้อม : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช เตียงหงษากุล. (2529). หลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิฑูรย์ เดโช. (2541). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชตำรวจ : กรณีศึกษาขาราชการตำรวจภูธรที่ปฏิบัติราชการในจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). คุณภาพชีวิตและคานิยมของสังคมไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สมศักด์ ศรีสันติสุข. (2525). สังคมไทยแนวทางการวิจัยและพัฒนา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนทรี โคมิน. (2522). ผลกระทบของการพัฒนาในแง่มุมของจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : พัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23