ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มทอผ้าไหม บ้านสังข์ หมู่ 6 ตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชินวุฒ โคตะกา
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ -
  • เสกสรรค์ สนวา

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, การจัดการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 8 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1) ประธานกลุ่มวิสาหกิจ 2) รองประธานกลุ่มวิสาหกิจ 3) เลขานุการ 4) ฝ่ายผลิต 5) ฝ่ายการตลาด 6) สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจ และ 7) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผลการศึกษาประเด็นศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสังข์ พบว่า ประธานกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจมีการปรับตัวให้ทันตามสถานการณ์อยู่เสมอ จึงทำให้เกิดความราบรื่นในการทำงาน รู้จักการปรับตัวเพื่อที่จะเข้าหาสิ่ง ๆ นั้นให้ได้จึงจะเกิดความสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ประเด็นปัญหาและอุปสรรคศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสังข์ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่ม และปัญหาการแพร่ระบาดโควิด -19 และ ประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ควรจะมีการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2549). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตร และสหกรณ์.

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2539). การบริหารทรัพยากรมนุษย์และบุคคล. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิระภา ฉิมสุข. (2544). ศักยภาพของชุมชนในด้านทันตสาธารณสุข. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย เทียนพุฒ. (2541). รูปแบบของการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ทองใบ สุดชารี. (2542). ทฤษฎีองค์การ : วิเคราะห์แนวความคิด ทฤษฎี และการประยุกต์. ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บัณฑร อ่อนดำ และ วิริยา น้อยวงศ์นยางค์. (2533). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบทประสบการณ์ของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์.

สายพิณ สันทัด และคณะ. (2551). การศึกษาความต้องการของการพัฒนาศักยภาพของชุมชน. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุกัลยา กรรณสมบัติ. (2543). ศักยภาพของมัคคุเทศก์ต่อการเป็นผู้นำในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิดจากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร : พลังปัญญา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ.

อนุชาติ พวงสำลี และ อรทัย อาจอ่ำ. (2539). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-23