บั้งไฟน้อย : แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านหนองยางน้อย ตำบลหัวช้าง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แนวทาง, การอนุรักษ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
ประเพณีบุญบั้งไฟมีบทบาทสำคัญต่อชาวอีสานทั้งเป็นเครื่องตอบสนองจิตใจ สร้างความมั่นใจก่อนการทำอาชีพเกษตรกรรมและยังเป็นการเฉลิมฉลองก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยว งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) คณะกรรมการหมู่บ้าน 4) ปราชญ์ชาวบ้าน 5) ประชาชน และ 6) กลุ่มทำบั้งไฟน้อย แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาประเด็นแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการอนุรักษ์ พบว่า การทำบั้งไฟน้อยเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับชุมชนมาเป็นเวลานานและสืบทอดสานต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้แล้วก็ซึมซับการทำบั้งไฟน้อย เพื่อที่จะได้มาสืบสานและพัฒนาบั้งไฟน้อยต่อไปในอนาคต 2) ด้านการพัฒนา พบว่า การพัฒนาบั้งไฟน้อยมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการผลิต การเสนอข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนแนวคิดซึ่งกันและกันช่วยกัน เพื่อเป็นการต่อยอดในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านการถ่ายทอดการ พบว่า สืบทอดความรู้ภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นอาชีพของประชาชนแทบทุกครัวเรือน 4) ด้านการเผยแพร่แลกเปลี่ยน พบว่า สนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ประเด็นปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า เยาวชนไม่นิยมการอนุรักษ์บั้งไฟน้อย ไม่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือหรือการสนับสนับต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานการณ์โควิด 19 ไม่สามารถจำหน่ายบั้งไฟน้อยได้ และประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ควรจะมีการปลูกฝังให้มีจิตนึกในการอนุรักษ์บั้งไฟน้อย โดยจัดกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมการทำบั้งไฟน้อย
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. มหาสารคาม : โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
เชษฐา พวงหัตถ์. (2551). ประชุมการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564, จาก
http://www.yasocity.com/ystmunicipal/index.php?option=com_k2&view=item&id=224
ประเวศ วะสี. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. เล่ม 2. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์.
ประภากร แก้ววรรณา และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลาร้าข้ามปีบ้านหนองบัวน้อย ตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร : ทิศทางไทย.
ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ยุพาพร จานประดับ. (2544). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ยุภาพร เจริญวัฒนมณีชัย. (2559). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่กรณีศึกษา ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. : สารนิพนธ์ พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยูร กมลเสรีรัตน์. (2546). บุญบั้งไฟยโสธรประเพณีขอฝนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2549). เอกสารคําสอนรายวิชาท้องถิ่นศึกษา. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ธวัช ปุณโณทก. (2532). ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน : ทัศนะของอาจารย์ปรีชา พิณทอง ในทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.