แนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี ภาวะพจน์
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ -
  • จำรัสลักษณ์ เจริญแสน
  • สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน
  • อรทัย พงษ์แก้ว
  • รพีพร ธงทอง

คำสำคัญ:

แนวทาง, การอนุรักษ์, โบราณวัตถุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2. เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์บ้านเขียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. เจ้าของพิพิธภัณฑ์ 2. ผู้ใหญ่บ้าน 3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4. คณะกรรมการหมู่บ้าน 5. ประชาชน และ 6. ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็น แนวทางการอนุรักษ์โบราณวัตถุให้ยั่งยืน พบว่า การลงทะเบียนของโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์นั้นไม่ได้ลงทะเบียน เนื่องจากพิพิธภัณฑ์นั้นเป็นพิพิธภัณฑ์แบบปิด และการค้นพบนั้นเป็นการค้นพบด้วยตนเองและค้นพบในพื้นที่ส่วนบุคคล การเปิดพิพิธภัณฑ์และสถานที่ของพิพิธภัณฑ์เป็นที่ส่วนบุคคลไม่ใช่ของรัฐ จึงทำให้เข้าใจได้ว่าของที่ค้นพบทุกชิ้นนอกเหนือจากสมบัติของชาติ 9 อย่างนั้น เป็นสมบัติส่วนบุคคล และในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เก็บแค่โบราณวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่เก็บรักษาวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่น เช่น  ผ้าเผวด ฆ้อง หม้อ ไห ฯลฯ

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2543). ความหมายของการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรา จงกล. (2532). ระบบทะเบียนและฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ์. (2547). ความหมายของการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน. (2561). พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน. สืบค้น 29 มกราคม 2566, จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2564). การอนุกรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttps://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=16&chap=3&page=t16-3-detail.html.

วิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย. (2553). การศึกษาหารูปแบบการจัดการคลังโบราณวัตถุทางโบราณคดีพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26