บทบาทในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารงานสถานีตำรวจ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ผู้แต่ง

  • พิชศาล พันธุ์วัฒนา -Police Cadet Academy

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การบริหารงานสถานีตำรวจ, อิทธิพล

บทคัดย่อ

บทบาทในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจการหรือการบริหารงานตำรวจตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มี 4 ด้านได้แก่ ร่วมการจัดทำแผนปฏิบัติงาน ร่วมการเสนอกฎระเบียบ ร่วมการตรวจสอบการทำงาน และร่วมการแสดงความคิดเห็น การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพทั่วไปของการจัดทำแผนปฏิบัติงาน การเสนอกฎระเบียบตำรวจ การตรวจสอบการทำงาน การแสดงความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. อิทธิพลของการจัดทำแผนปฏิบัติงาน การเสนอกฎระเบียบตำรวจ การตรวจสอบการทำงาน การแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ใช้วิธีดำเนิน การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากประชาชนกรุงเทพจำนวน 405 คน ใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมากกว่าครึ่งมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจการตำรวจระดับน้อย (ร้อยละ 55.30) หากแต่มีส่วนร่วมมากที่สุดกับการร่วมศึกษาปัญหากับตำรวจ (ร้อยละ 68.64) ร่วมออกหลักการและเหตุผล (ร้อยละ 65.92) และมีส่วนร่วมการตรวจด้านงานธุรการ (ร้อยละ 41.48) และ 2. การแสดงความคิด เห็นมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนการจัดทำแผนปฏิบัติ งานมีอิทธิพลทางอ้อมและผลรวมต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุด

 

References

กันตินันท์ สงครามยศ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2563). การดำเนินการของคณะกรรม การตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนา การเรียนรู้สมัยใหม่. 5(6): 62-76.

กรุงเทพมหานคร. (2567 ก). กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. สืบค้น 10 มกราคม 2567 จาก https ://data.bangkok.go.th/organization/about/bangkok_east

กรุงเทพมหานคร. (2567 ข). สถิติจำนวนผู้มีสิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565. สืบค้น 10 มกราคม 2567 จาก https://offic e2.bangkok.go.th/ard/wp-content/uploads/2022/07/ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี2565-.pdf

ขจรศักดิ์ วิเศษสิงห์ และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2564). ผลการปฏิบัติงานและปัญหาของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดนครปฐม. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 26(2): 12-23.

ฉัตรนารี ทองเรืองวงค์ และศิพร โกวิท. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 12(2): 349-360.

ปกาศิต เจิมรอด. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 12(1): 1-12.

ระเบียบสำนักงานตำรวจแหงชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ.2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 45 ง: 13-50.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก: 1-94.

วิมล นามป้อง และวิจิตรา ศรีสอน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 12(40): 53-64.

Ambrose, G., & Siddiki, S. (2023). Assessing Drivers of Sustained Engagement in Collaborative Governance Arrangements. Journal of Public Administration Research and Theory. Retrieved February 2, 2024 from https://doi.org/10.1093/jopart/muae005

Chen, C. (2024). Assessment of Test Validity in the Context of the Duolingo English Test. Open Journal of Modern Linguistics. 14: 1-7.

Choi, T.H., & Wong, Y.L. (2023). Does public consultation affect policy formulation? Negotiation strategies between the administration and citizens. Journal of Education Policy.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika.

Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.

Roebianto, A., Savitri, L., Sriyanto, A.S., & Syaiful, L.A. (2023). Content validity: Definition and procedure of content validation in psychological research. TPM–Testing. 30(1): 5-18.

Schuler, J., Anderson, B., & Kusshauer, A. (2023). Test-Retest Reliability in Metric Conjoint Experiments: A New Workflow to Evaluate Confidence in Model Results. Entrepreneurship Theory and Practice. 48(2): 42-57.

Shrestha, N. (2022). Factor Analysis as a Tool for Survey Analysis. American Journal of Applied Mathematics and Statistics. 9(1): 4-11.

United Nations. (2015). Universal Declaration of Human Rights, 1948. Retrieved January 16, 2024 from https://www.un.org/en/udhrbook/pdf/udhr_boo klet_en_web.pdf

U.S. Department of Health and Human Services. (2022). The Belmont Report: Ethical Principles and Guidelines for the Protection of Human Subjects of Research. Retrieved January 16, 2024 from https://www.hhs.gov/oh rp/regulations-and-policy/bemont-report/index.html

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26