การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 12 คน แล้วเอาผลสรุปมาวิเคราะห์สังเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์สรุปความและการตีความนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมการประเมินแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ด้านการมีส่วนร่วมการกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัด และด้านการมีส่วนร่วมการนำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (X4) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน (X2) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (X1) ตามลำดับ 3) จัดเตรียมความพร้อมในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ หรือจัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหา ร่วมกำหนดวางกรอบแบบแผนกรอบโครงสร้างประชาชนควรมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายกิจกรรมในการนำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดไปปฏิบัติ เพื่อการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติต่อความต้องการของประชาชนตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้ร่วมกันกำหนดอย่างมีเป้าหมาย และมีการประเมินการดำเนินงานทุกอย่างเป็นรูปธรรม และสรุปผลการประเมินร่วมกัน อภิปรายผลตลอดถึงการประเมินผลและพัฒนากลไกให้มีประสิทธิภาพ
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). มาตรฐานการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
เกรียงไกร ยศพันธุ์ไทย. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการกุญแจสู่ความเป็นเลิศ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. รัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์กาบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นุสรา พันธรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลคลองจุกกระเฌอ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปัญหาพิเศษรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต ร้อยเอ็ด, 9(2) 636-646.
อาทิตย์ แสงเฉวก, บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, สุขพัฒน์ อนนท์จารย์, วีรนุช พรมจักร์, วิระยา พิมพ์พันธ์. (2562).
การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 83–97.
พสุ เดชะรินทร์. (2551). การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. (2560-2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 79 ก 31 กรกฎาคม 2560.
พีระพงษ์ หอศิลป์. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ต้นน้ำน้ำลีในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. พิษณุโลก: สำนักพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 11 กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.
มยุรี อนุมานราชธน. (2554). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมี บุคส์ พับลิเคชั่นส.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 5 โรงพิมพ์ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
อนุพันธ์ ภู่พุกก์. (2553). งานวิจัยสถานโครงการการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอันดามัน. กรุงเทพมหานคร: กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking Clarity through specificity. New York: World Developments.