การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วม; แผนยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมายของการมีส่วนร่วม ประเภทและรูปแบบการมีส่วนร่วมและความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากร ผลการวิเคราะห์ พบว่า การที่บุคคลหรือบุคลากรเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือหน่วยงาน โดยมีการดำเนินการร่วมกันในขั้นตอนกระบวนการวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้กิจกรรมนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์แผนยุทธศาสตร์เป็นการกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย ในแง่ของการมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจ โดยแผนยุทธศาสตร์เป็นการกำหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยยกระดับระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพราะการกำหนดแผนยุทธศาสตร์นั้นให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
References
จันจิรา เรียงแสน และวีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2566). การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2566 ของบุคลากรสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 403-432.
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 461-470.
เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตการจัดการและประเมินโครงการ. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาลินี สังฆจันทร์. (2557). การแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่นกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในชุมชน. วารสารพื้นถิ่นโขง ชีมูล, 8(1), 119-146.
พรสรรค์ ปิยนันทิศักดิ์. (2566). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อสิทธิหน้าที่กับการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 35-67.
พินิจ มีคำทอง และโกวิทย์ แสนพงษ์. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 111-120.
ภาวนา วงสวาห์. (2541). การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศิริพร ศิริผล. (2561). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ กรณีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 184-193.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉับบที่สิบสาม พ.ศ.2566-2570. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จากhttps://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.
สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). ปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทยชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก http://www:midnightuniv.org /midnight2545/document9562.html.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา, ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เอกชัย กีสุขพันธ์. (2538). การบริหาร: ทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
Hrex.asia. (2562). แนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ (Management Concept). สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จากhttps://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/.