แนวโน้มการจ้างงานภายใต้ยุคโลกของการทำงานในอนาคต

ผู้แต่ง

  • สุรเดช เหล่าพิเดช -

คำสำคัญ:

แนวโน้มการจ้างงาน, การทำงานในอนาคต

บทคัดย่อ

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Megatrends) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในสังคม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แนวโน้มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาท สำคัญต่อการกำหนดทิศทางของประเทศ ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและระดับประเทศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทิศทางตลาดแรงงาน ในอนาคต เพื่อภาครัฐจะได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ การมีงานทำ มีรายได้ เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของแรงงาน

กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน จึงได้มีการศึกษาทิศทางตลาดแรงงานไทยในอนาคต ใน 6 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) 2) อุตสาหกรรมการเกษตร (เกษตรอัจฉริยะ ด้านพืช) 3) อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ 4) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (การขนส่งทางทะเล)           5) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด และ 6) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หรือเพื่อออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์อย่างไรก็ตามความรู้ดังกล่าว   ทำให้ได้เห็นทิศทางของความต้องการแรงงาน อาชีพและทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในอนาคตได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

References

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ และคณะ. (2567). คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิต ในเมืองประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://khonthai4-0.net/content_detail.php?id=142.

อมรชัย บ้านเมือง. (2567). การเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้วย “การมองอนาคต” . สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก IN https://innovationhub.mof.go.th/?page_id=2032 NOVATION HUB (mof.go.th).

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). เครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools). กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ชมพูนุช หุ่นนาค. (2562). ระบบอภิบาลกับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(3).

กิตธวัช บุญทวี และคณะ. (ม.ป.ป.). ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร.

นันทกร บุญเกิด. (2548). เกษตรอินทรีย์ สรุปการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์. เทคโนโลยี เกษตรแนวใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-08