ระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร ที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ลภัสรินทร์ ทิพย์อุทัย -

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, เทคโนโลยีสารสนเทศ; สมรรถนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร ที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่นและเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร ที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากประชากรจำนวน 30 คนคัดเลือกแบบเจาะจง ด้วยการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรมีสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความรู้มีสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานและจัดสรรให้งบประมาณสนับสนุนการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรและบุคลากรควรได้รับการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ การได้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร

References

กัมพล เกศสาลี และกันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 503-514.

ปิยะ ปะตังทา และเกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2566). การพัฒนาสมรรถนะเชิงพุทธ เพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12 (3), 221-232.

พนิดา พานิชกุล. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศ (INFORMATION TECHNOLOGY). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์.

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์ และชัชภูมิ สีชมภู. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6 (9), 70-84.

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. สารนิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12 (2), 50-61.

ศุภโชค พาที. (2565). แนวทางพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและบริการของบุคลากรฝ่ายปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภกร ถือธรรม. (2564). การศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากรสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 13-21

สำนักงาน กพ. (ม.ป.ป.). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม (ว6/2561). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2#gsc.tab=0

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อมรรัตน์ สิทธิศักดิ์. (2563). สมรรถนะการรู้ดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 38(4), 61-81.

อุษคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(2), 59-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02