การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นันทวรรณ นมเกษม -
  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งระดับเทศบาลซึ่งเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่นยังคงเป็นประเด็นท้าทายที่ต้องได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองหัวฟานที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ใช้วิธีคัดเลือกจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง                  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการแสดงออกด้วยการกระทำ          2. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งและสิทธิหน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย 2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสังเกตการณ์การปราศรัยหาเสียงและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

สรุปผลการวิจัย การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองหัวฟานจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองและกระบวนการเลือกตั้ง ควบคู่ไปกับการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: หจก. สามลดา.

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14 (3), น. 109–125.

จักรพล บุณยปรัตยุษ (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 9 หลักสี่-จตุจักร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จาดุร อภิชาตบุตร. (2564). หลักประชาธิปไตย: การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ:สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

พัชรี กล่อมเมือง และณัฏฐา เกิดททรัพย์. (2562). คนชายขอบ: ชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2). น. 1-9.

ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: แนวคิด หลักการและการส่งเสริม. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (2), น. 384-400.

วิทยากร เชียงกูล. (2560). การปฏิวัติประชาธิปไตยในอเมริกาและฝรั่งเศส คนไทยควรเรียนรู้อะไร. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า. (2566). ข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ผ่านมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567. จาก https://shorturl.asia/FHg8T

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567. จาก https://shorturl.asia/e1b7K

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567. จาก https:// shorturl.asia/7a5nN

สำนักปลัดเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567. จาก https://shorturl.asia /DF3bp

สุภาวดี ปันเต็ม. (2566). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่. journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus, 9(1), น. 15-30.

Bunjongparu, P. (2021). Developing participatory model for driving a network enhancing good governance for excellence: The Subdistrict Administration Organ ization in Nakhon Ratchasima Province. Annals of the Romanian Society for Cell Biology, 25(3), 7563-7570.

Goldberg, A. C., & Sciarini, P. (2023). Voter turnout in direct democracy: A joint analysis of individual,referendum and community factors. European Journal of Political Research, 62(1), 25-46.

Hutauruk, A. (2023). The Role of Government Politics and Law in Building Public Participation in Elections. Journal of Social Science, 4(3), 856-861.

Lazarsfeld, P. F. (1994).The academic mind: A study of the intellectual and social factors in the development of sociology. University of Chicago Press.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.

Cummings and Wise. (1971).Cummings and Wise. Democracy under pressure. Harcourt Brace Jovanovich. New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

นมเกษม น., & โชควรกุล เ. (2025). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา . วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 63–75. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1231