การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม: พระธาตุพนมจากตำนานอุรังคธาตุ สู่การยกระดับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ศตพล ใจสบาย
  • ศศิธร ล่องเลิศ
  • มาวิน โทแก้ว -

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์ตำนานอุรังคธาตุในฐานะเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2. ยกระดับพระธาตุพนมสู่การเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม  3. พัฒนาชุดความรู้และหลักสูตรการสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวพระธาตุพนมและพระธาตุบริวาร 4) เสนอแนวทางการยกระดับพระธาตุพนมสู่การเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ 1. พระสงฆ์ 2. ปราชญ์ผู้รู้ 3. ประชาชน  4. ผู้นำชุมชน  5. ภาครัฐ 6. พ่อค้า-แม่ค้า 7. มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และ 8. นิสิต ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ประชากรที่อาศัยใน 2 ประเทศ จำนวน 810 คน สุ่มโดยเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตำนานอุรังคธาตุ เป็นวรรณกรรมเชิงศาสนามีเนื้อหาเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นความเชื่อดั้งเดิม คือ การเสด็จมาของพระพุทธเจ้าสู่ภูกำพร้าเพื่อพยากรณ์สถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของประชาชนสองฝั่งโขง
  2. การมีส่วนร่วมในการยกพระธาตุพนมเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. จัดตั้งคณะกรรมการ 2. จัดเวทีสาธารณะ 3. จัดกิจกรรมการศึกษา 4. การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ 5. ส่งเสริมความร่วมมือ
  3. ชุดความรู้และหลักสูตรการสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยวพระธาตุพนมและพระธาตุบริวาร มีค่าประสิทธิภาพ 81.73/83.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และคะแนนทดสอบทักษะด้านการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ หลังเรียน ( = 20.27) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 16.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผู้อบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดความรู้และหลักสูตรฯในระดับมาก ( = 4.45)
  4. การยกระดับพระธาตุพนมสู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2. จัดสรรงบประมาณสนับสนุน 3. จัดทำแผนการดำเนินงาน 4. ดำเนินงานตามแผน และมีการติดตาม ประเมินความสำเร็จ 5. ทุกกระบวนการประชาชนมีส่วนร่วม

References

คณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก. (2559). ยุทธศาสตร์การขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก. นครพนม: วัดพระธาตุพรม วรมหาวิหาร.

จิรพันธ์ จันหนิ้ว และคณะ. (2565). แนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาโดยชุมชนของศูนย์การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอลอง จังหวัดแพร่.

นาถฤทัย ทองจันทร์. (2560). การพัฒนาบทเรียนสร้างเสริมความสามารถด้านการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทองใบ สุดชารี, (2549). ภาวะผู้นำ : กลไกขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้. อุบลราชธานี : สถานบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พิชศาล พันธุ์วัฒนา, (2565). บทบาทในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารงานสถานีตำรวจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ, วารสารเมธีวิจัย, 1 (4) 26.

สมบัติ นามบุรี, (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในการรัฐประศาสนศาสตร์, วารสารวิจยวิชาการ, 2 (1) 188-191.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

อธิราชย์ นันขันตี. (2563). อุรังคนิทาน (ปริวรรต). นครพนม: กรมศิลปากร.

Feilden, Bernard & Jokilehto, Jukka. (1993). Management Guidelines for World Cultural Heritage Sites. Rome: ICCROM.

Cohen John M. & Uphoff, Norman T. (1980). Participation’s Place in Rural Development, Seeking Clarity Through Specificity, World Development.

Jokilehto, J. (2005). A History of Architecture Conservation. [n.p.]: Elsevier.

Jimura, Takamitsu. (2011). The Impact of World Heritage Site Designation on Local Communities—A Case Study of Ogimachi, Shirakawa-mura, Japan. Tourism Management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

ใจสบาย ศ. ., ล่องเลิศ ศ. ., & โทแก้ว ม. . (2025). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรม: พระธาตุพนมจากตำนานอุรังคธาตุ สู่การยกระดับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1021