การตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เลือกตั้งบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน เพื่อศึกษา (1) การตัดสินใจเลือก ส.ส. ของประชาชนในเขต กทม. (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับข่าวสารทางการเมือง และทัศนคติทางการเมืองกับการตัดสินใจเลือก ส.ส. กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขต กทม. สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA และ Regression Analysis ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากช่องทางทีวี (ร้อยละ 88.6) และโซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 84.5) ชอบรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากช่องทางโซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 41.7) มีทัศนคติในระบอบประชาธิปไตยค่อนข้างสูง มีความเข้าใจระบบการเมืองเชิงโครงสร้างค่อนข้างมาก(Mean = 4.26) การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.43) ตัดสินใจเลือก ส.ส. จากคุณสมบัติของตัวผู้สมัคร (Mean = 4.21) นโยบายของพรรคการเมือง (Mean = 4.04) พรรคการเมือง (Mean = 3.97) สิ่งตอบแทนและผลประโยชน์ที่จะได้รับ (Mean = 3.19) ตามลำดับ และมีความพึงพอใจหลังทราบผลการเลือกตั้งอยู่ในระดับน้อย (Mean = 2.04) ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้ต่อเดือน) ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. แตกต่างกัน ช่องทางการรับข่าวสารต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ไม่แตกต่างกัน การรับข่าวสารทางการเมือง และทัศนคติทางการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส.
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2561). เผย '5 ปัจจัยสำคัญ' ที่ปชช.ใช้ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส. ครั้งต่อไป. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810114
กฤตยชญ์ สมมุ่ง. (2563). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตที่ 2 และเขตที่ 5. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชัยพจน์ จำเริญนิติพงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี: ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2560. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
ดาวเรือง นาคสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2559. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2554). การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัคร: วิเคราะห์จากการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(2): 5-28.
ทวีศักดิ์ แสงเงิน, จิตานันธ์ ปิติเลิศศิริกุล และฐิติมา พรหมทอง. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไป 2 กรกฎาคม 2554 ของเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(1): 68-79.
ไทยพีบีเอส. (2562). เลือกตั้ง 2562: เช็กชื่อ 51.4 ล้านคน ตรวจสิทธิเลือกตั้ง. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/278084
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). คนผิดหวังมาก เปิดจุดเปราะ "ประชาธิปัตย์" เสี่ยงสูญพันธุ์ หรือไม่. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1587975
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2555). สถานภาพทางสังคมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554: กรณีศึกษาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 1(1): 33-40.
เวิร์คพ้อยท์ทูเดย์. (2562). เลือกตั้ง 62 | ย้ายพรรครับเลือกตั้ง! เปิดบทสรุป ส.ส. รัฐมนตรี ย้ายพรรคจากไหนไปไหนบ้าง. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://workpointtoday.com/ย้ายพรรครับเลือกตั้ง/
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. (2562). ทำอย่างไรให้ประชาชนไว้ใจประชาธิปัตย์ จนเลือกเป็นที่หนึ่งในสภา. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://themomentum.co/democrat-party-new-leader-direction/
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=26&filename=
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20201002121233.pdf
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2562). ความน่าเบื่อหน่ายของพรรคประชาธิปัตย์. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000053447
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ปุณณดา อิงคุลานนท์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.