แนวทางการจัดตั้งหน่วยงานในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
คำสำคัญ:
หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ, นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์, กระทรวงยุติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ กรอบแนวคิดตลอดจนโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้กระทำผิดในมิติที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิดและมิติทางสังคม และเพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่เป็นข้อจำกัดในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติของกรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติไม่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ดูแลผู้กระทำผิดภายหลังปล่อยและภายหลังพ้นการคุมความประพฤติ 2) โครงสร้างการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ควรจะต้องมีลักษณะเป็นหน่วยงานกึ่งอิสระที่มีความคล่องตัว แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงยุติธรรม บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการ และจัดโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ทันกับสถานการณ์ 3) แนวทางการจัดตั้ง ประกอบด้วยการถ่ายโอนภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการจ้างงานผู้กระทำผิดของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมมาให้กับหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ และการกำหนดบทบาทภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
References
กระทรวงยุติธรรม. (2564). สรุปรายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
ไชยนันท์ ปัญญาศิริ และสุมิตตรา เจิมพันธ์. (2563). โครงสร้างตามสถานการณ์ขององค์การภาครัฐไทยตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 26(2), 112-123.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). ปัจจัยกำหนดรูปแบบและประสิทธิผลขององค์การภาครัฐสมัยใหม่. คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). โครงการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบ “สถาบันส่งเสริมการฝึกวิชาชีพและทักษะการทำงาน” สำหรับการจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ผู้แต่ง.
ยศพนต์ สุธรรม. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เรืองเดช เพชรเลิศ. (2556). รูปแบบการบริหารของสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ. ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ. (2564). แนวทางการนำผู้ต้องขังคืนสู่สังคมเพื่อให้ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ (Social Reintegration). ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก https://researchcafe.org/social-reintegration/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ปาณิศา ผลกษาปน์สิน, ศิริลักษม์ ตันตยกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.