ผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติต่อการปรึกษา

กรณีศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา

ผู้แต่ง

  • พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษา, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, เชื้อไวรัสโคโรนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อโคโรนาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 2) แบบประเมินความสามารถในการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 3) แบบประเมินเจตคติต่อการปรึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมฝึกอบรม การปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษาในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60-1.00  ทำการทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วย Wilcoxon Signed-Rank Test for Match Paired และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษาหลังเข้ารับโปรแกรมฝึกอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการปรึกษามากกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กมลลักษณ์ สิทธิสวัสดิวุฒิ. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมพัฒนาทักษะและเจตคติต่อการให้คำปรึกษาสำหรับครูประชำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมการแพทย์ กรทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อแนะนำสำหรับอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) และทีมปฏิบัติการชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และการดูแลช่วยเหลือผู้ติดบุหรี่ สุรา ยาเสพติดในชุมชน. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2564 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/ Content_File/Covid_ Heal th/Attach/25630417103913AM_ข้อแนะนำสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข%20(ปรับแก้.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือการให้การปรึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมสุขภาพจิต. (2560). คู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาสุขภาพจิตชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). กรมสบส.จัดอสม.ร่วมคัดกรองฟื้นฟู สุขภาพใจผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2564 จาก https://hss.moph. go.th/show_topic.php?id= 3537

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. (2563). แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาส์น.

ประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต. (2561). กรมสุขภาพจิตพัฒนาศักยภาพ อสม. เชี่ยวชาญสุขภาพจิต 75,032 คน เอ็กซเรย์ปัญหาสุขภาพจิตทุกหมู่บ้านทั่วไทย. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563 จาก

http://www. prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต /1047-กรมสุขภาพจิต-พัฒนาศักยภาพ-“อสม- เชี่ยวชาญสุขภาพจิต-75,032-คน”เอ็กซเรย์ปัญหาสุขภาพจิตทุกหมู่บ้านทั่วไทย.html

ประภาส อนันตา และจรัญญู ทองอเนก. (2556). ศึกษาผลของการพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยม บ้านตำบลขวาวอำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 20(1), 1-8.

พิมพวรรณ เรืองพุทธ และวรัญญา จิตรบรรทัด. (2556). ศึกษาความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนนาเคียน ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2 ), 32-43.

พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล และอนันต์ วริศวราทร. (2564). ศึกษาความรู้และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ของสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย. วารสารรามคำแหงฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 4(2), 60-80.

ภูดิท เดชาติวัฒน์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2557). ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(1),87-96.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. (2563). คู่มือดูแลจิตใจประชาชน สำหรับผู้นำชุมชนและอสม. ค้นเมื่อ21 กรกฎาคม 2564 จาก https://suicide.dmh. go.th/download/view.asp?id=294

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2560). คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/36494-คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า%207%20ล้านคน.html

Alem, A., Jacobsson, L., & Hanlon C. (2008). Community-based mental health care in Africa: mental health workers’ views. World Psychiatry, 7(1), 54-57.

Bloom, B. S. (1971). Mastery learning: Theory and practice. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Dinger, U., Jennissen, S., & Rek, I. (2019). Attachment Style of Volunteer Counselors in Telephone Emergency Services Predicts Counseling Process. Retrieved November 18, 2021, from https://psycnet.apa.org/record/2019-56076-001

Wei, H. S., Hsin L. J., So S. T., & Hsuan C. J. (2017). The Training Effects of Solution-Focused Brief Counseling on Telephone-Counseling Volunteers in Taiwan. Journal of Family Psychotherapy, 28(4), 285-302.

เผยแพร่แล้ว

12-07-2025

How to Cite

ธำรงศ์วรกุล พ. . (2025). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติต่อการปรึกษา: กรณีศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(1), 172–198. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2131