กลุ่มการเมืองในพรรคการเมือง
กรณีศึกษากลุ่มวังน้ำยม-มัชฌิมา -สามมิตร
คำสำคัญ:
กลุ่มการเมือง, พรรคการเมือง, วังน้ำยม– มัชฌิมา-สามมิตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1) เหตุผลในการจัดตั้งกลุ่มและการนาไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมือง 2) การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในฐานะกลุ่มการเมือง และ 3) บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มต่อพรรคการเมืองและการเมืองไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักการเมืองและอดีตนักการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมิได้เป็นสมาชิกกลุ่มระหว่างปี 2544-2562 ผลการศึกษาพบว่า 1) ในช่วงเริ่มต้นระหว่างปี 2544-2549 กลุ่ม “วังน้ำยม” แม้ว่าจะมีเป้าหมายต่อบทบาท อำนาจและอิทธิพลในพรรคการเมือง แต่กลุ่มมิได้มีบทบาทและอำนาจในพรรคการเมืองแต่อย่างใด เป็นเพียงกลุ่มกิจกรรมที่มีบาทการเมืองเชิงพื้นที่จังหวัด การรักษาฐานเสียง การแลกเปลี่ยน การสร้างความร่วมมือในพื้นที่จังหวัด ด้วยโครงสร้างและระบบพรรคการเมืองที่สังกัดมีความแข็ง ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบของรัฐธรรมนูญปี 2540 2) การเปลี่ยนแปลงไปสู่กลุ่มมัชฌิมาในช่วงปี 2550-2553 บทบาทของกลุ่มในพรรคการเมืองมีมากขึ้นเป็นลำดับ และพัฒนาเป็นพรรคการเมือง ด้วยผลจากสถานการณ์ทางการเมืองและระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เป็นผลจากการออกแบบระบบพรรคการเมืองของรัฐธรรมนูญปี 2550 และหลังการเลือกตั้งปี 2562 เป็นกลุ่มขนาดใหญ่เสมือนว่าจะมีอำนาจต่อรองในพรรคการเมืองมาก หากแต่โครงสร้างระบบพรรคการเมืองซึ่งออกแบบโดยรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้กลุ่มไม่มีอำนาจและอิทธิพลในพรรคการเมืองมากนัก 3) การดำเนินกิจกรรมวางอยู่บนความพยายามสร้างภาพลักษณ์กลุ่มการเมืองที่เป็นทางเลือกของสังคม ไม่ขัดแย้งกับฝ่ายใด 4) กลุ่มมิได้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจทางการเมืองหากแต่เกี่ยวข้องกับชนชั้นนำทางสังคม ข้าราชการและกลุ่มทุน
References
กิติมา ลิ้มประเสริฐ. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทาในฐานะเป็นทางออกจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 260-267.
เดอะแสตนดาร์ด. (2562). ยุบ 3 พรรคการเมือง พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://thestandard.co/onthisday02122551/
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฎิวัติสยาม 2475. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
นนทวุฒิ ราชกาวี. (2549). มัชฌิมาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th.
นิโรจน์ ขอคงประเสิรฐ. (2533). ฝักฝ่ายทางการเมือง: ศึกษากรณีการแบ่งแยกฝักฝ่ายในพรรคประชาธิปัตย์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชนออนไลน์. (2561). กลุ่มวังน้ายม อดีตมหาอานาจในไทยรักไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_924482
สันติกะโร ภิกขุ. (2549). จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด. กรุงเทพมหานคร: ระคังทอง.
Beller, D. C. & Belloni, F. P. (1978). Faction politics: Political parties and factionalism in comparative perspective. Santa Barbara, CA: ABC-Clio.
Köllner, P. & Basedau, M. (2005). Factionalism in political parties: An analytical framework for comparative studies. GiGA Working Paper 12. GiGA German Institute of Global and Area Studies.
Warner, C. M. (2000). Confessions of an Interest group: The Catholic church and political parties in Europe. Princeton, NJ: Princeton University Press.
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญหลัก
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554-2557, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565.
ภิมุข สิมะโรจน์, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพรรคไทยรักไทยปี พ.ศ. 2544-2548, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565.
สุวิทย์ คุณกิตติ, อดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม อดีตรองนายกรัฐนตรี และรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยรักไทย, พรรคเพื่อแผ่นดิน, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 10 มกราคม 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 นวภาคย์ ภัทรลีลา, นิพนธ์ โซะเฮง, เกรียงชัย ปึงประวัติ, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.