อาหารเกาหลีทำให้เราเพลิดเพลิน: อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในซีรีส์เกาหลี

ผู้แต่ง

  • วิสาขา เทียมลม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

อาหารเกาหลี, กระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี, ซีรีส์เกาหลี, อุตสาหกรรมวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนออาหารเกาหลีจากละครซีรีส์เกาหลีภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรม เพื่อวิพากษ์การผลิตวัฒนธรรมการเผยแพร่ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ รวมทั้งกับการครอบงำทางวัฒนธรรมที่กระแสเคป็อปทำให้คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีกลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้ชมซึมซับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเกาหลี และเชื่อมโยงโลกในละครกับโลกในชีวิตจริงให้เป็นเนื้อเดียวกัน

            วิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษาคือ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีใช้ละครซีรีส์เกาหลีในการสร้างภาพลักษณ์ความอร่อยของอาหารเกาหลีให้กลายเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ผู้ชมสามารถทำอาหารเกาหลีตามรอยละครซีรีส์ โดยผู้ชมสามารถสร้างประสบการณ์ในการทำอาหารเกาหลีได้ในชีวิตจริง   นอกจากนี้ คลื่นวัฒนธรรมเกาหลียังทำให้ผู้ชมซึมซับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเกาหลีโดยผู้ชมสามารถลิ้มลองรสชาติของอาหารเมนูเดียวกับที่ได้ชมจากในละครซีรีส์ที่ตัวเองชื่นชอบ  และคลื่นวัฒนธรรมเกาหลียังได้เชื่อมโยงโลกในละครกับโลกในชีวิตจริงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมในการดูละครซีรีส์ โดยผู้ชมรับรู้ว่าชีวิตในละครซีรีส์ไม่ต่างกับชีวิตจริงที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้เป็นประสบการณ์ตรง ด้วยการท่องเที่ยวเพื่อกินอาหารตามรอยละครซีรีส์เกาหลี

ดังนั้น แนวคิดอุตสาหกรรมวัฒนธรรมจึงช่วยสร้างความกระจ่างและวิพากษ์คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่แฝงการขายสินค้าหมวดอาหารเกาหลีและสินค้าการท่องเที่ยว โดยที่คลื่นวัฒนธรรมเกาหลีได้ผลิตวัฒนธรรมให้เป็นสินค้ามวลชน 

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). 5 ปรากฏการณ์ความสร้างสรรค์ ช่วงกักตัวรวมกิจกรรมที่คนไทยปลดปล่อยความน่าเบื่อ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/876252

จารุวรรณ เจตเกษกิจ. (2555). จับตามองยุทธวิธีอาหารเกาหลีเจาะตลาดโลก. วารสารอุตสาหกรรมสาร. 55(มกราคม-กุมภาพันธ์), 36-38.

จิต ผลิญ. (2554). เกาหลีใต้ผู้นำอุตสาหกรรมวัฒนธรรมยุคใหม่. วารสารอุตสาหกรรมสาร. 54(พฤศจิกายน-ธันวาคม), 25-26.

นวรัตน์ ชิ้น. (2560). น้ำแข็งไสเกาหลี บิงซู (Bingsu): ภาพสะท้อนวัฒนธรรมกระแสนิยมอาหารเกาหลีใน สังคมไทย กรณีศึกษา ร้านน้ำแข็งไสบิงซูย่านสยามสแควร์. รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุศยรินทร์ สัจจะวรรธน์. (2555). ภาพลักษณ์วัฒนธรรมเกาหลีผ่านละครโทรทัศน์ชุดแดจังกึม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภริตา วิริยะรังสกฤษฏ์. (2553). กินแบบเกาหลี. กรุงเทพฯ: แม็บบุค.

วีรวัฒน์ อินทรพร. (2557). “นวนิยายแนวปรุงรสปรุงรัก: อาหารกับมิติความเป็นหญิง ในวรรณกรรมไทยยุคออนไลน์”. ทีทรรศน์ภาษาวรรณกรรม วัฒนธรรมการสื่อสารในโลกยุคเปลี่ยนผ่าน. นครปฐม: หยิน หยาง.

เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงศ์. (2549). เกาหลีฟีเวอร์: การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านสื่อ. สืบค้นจาก

http://www.mfa.go.th/saranrom/contents/ebook/ebook-20122805-105318/#/25/zoomed

สะริลา ป้องพิมพ์. (2551). การถ่ายทอดวัฒนธรรมกาหลีผ่านภาพยนตร์ซีรีย์ กรณีศึกษา: เรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุรีย์พร นิพิฐวิทยา. (2549). “เหลียวหลังแลหน้ากับการพัฒนาเกาหลีใต้”. วารสารสังคมศาสตร์. มศว. (มกราคม-ธันวาคม), 33-41.

อลิสา วิทวัสกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีผ่านละครโทรทัศน์แดจังกึมจอมนางแห่งวังหลวง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adorno, T. W., & Horkheimer, M. (1992). Dialectics of Enlightenment. London: Verso.

Akdongraphael. (2555). Daejanggeum. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=Tiix1CNkaIo

Creatrip ก็เกาหลีไง. (2562). สายเนื้อ! คนรักปิ้งย่าง! นี่คือวิดีโอเกี่ยวกับวิธีการทานเนื้อย่างแบบคนเกาหลี. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=8JfeDXOw1y0&t=70s

Hi Prae. (2563). ตามรอยซีรีย์ Itaewon Class ไปกินซุปเต้าหู้อ่อนที่ร้านทันบัม. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=--KnsNvho34

KaoSupaassra. (2563). กินกับเก้า EP.10 ทำอาหารตามรอยซีรีส์เกาหลี. สืบค้นจาก

https://www.youtube.com/watch?v=8zQFfl7zEuw&t=821s

Sanook. (2563). ปักหมุด เที่ยวตามรอยซีรีส์ Itaewon Class โควิดเผลอเจอกันที่ทันบัม. สืบค้นจาก https://www.sanook.com/travel/1420721/

Scoop Viewfinder. (2563). FoodFinder: 002 จาปากูรีของคุณนาย. สืบค้นจาก

https://www.youtube.com/watch?v=u-RRu9KKP-k&t=291s

Voluntary Agency Network of Korea. (2010). Hansik. Retrieved from http://korea.prkorea.com/worldpress/english/2012/03/23/

hansik/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

เทียมลม ว. . (2025). อาหารเกาหลีทำให้เราเพลิดเพลิน: อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในซีรีส์เกาหลี . วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 1–34. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2034