การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดเทศบาลในพื้นที่อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
บริหารทรัพยากรมนุษย์, ความผูกพันต่อองค์กร, เทศบาลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การบริหารทรัพยากรมนุษย์และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร และ 3. เพื่อศึกษามิติด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างจานวน 215 คน เป็นบุคลากรสังกัดเทศบาล ในพื้นที่อาเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จานวน 9 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการรับรู้การบริหารทรัพยากรมนุษย์และความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กร 3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยมิติด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถทานายความผูกพันต่อองค์กรได้ดีที่สุด รองลงมาคือมิติด้านความปลอดภัยและสุขภาพหรือเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทางานและความเป็นอยู่ที่ดี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้แก่ ผู้บริหารควรกาหนดนโยบายด้านแรงจูงใจ เช่น การพิจารณาความดีความชอบ ความก้าวหน้าในตาแหน่งให้มีความชัดเจน เป็นธรรม และควรเน้นการสื่อสารแบบสองทางไม่ใช่การกำหนดนโยบายจากส่วนกลางหรือผู้บริหารมายังผู้ปฏิบัติงานแบบทิศทางเดียว ให้บุคลากรมีโอกาสเสนอแนะความคิดเห็นที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์และเพื่อองค์การจะได้รับทราบปัญหา เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาเป็นประโยชน์ในการนำมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และปริญญ์ ศุกรีเขตร. (2564).รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 1-13.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประภาส ศิริภาพ และคณะ. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารการบริหารปกครอง, 10(1) 197-220.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอเลิงนกทา. (2565). แผนอัตรากาลัง 3 ปี (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566) ของเทศบาล. ยโสธร: ผู้แต่ง.
อนุชาติ ปิยนราวิชญ์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์ (2561), ความผูกพันองค์การ (Organizational Commitment), บทความเชิงวิชาการ ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565, จาก http://anuruckwatanathawornwong.blogspot.com/2018/01/organization -nal commitment.html
Byars, L. L. & Rue, L. B. (1997). Human resource management (5 th ed.). Home wood, IL: Richard D. Irwin Inc.
Ivancevich, J. M.(1998). Human resource management (7th ed.). New York: McGraw-Hill.
Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organization commitment. Human Resources Management Review, 1, 61-89.
Mondy, R. W., Noe, R. M., & Premeaux, S. R. (1999). Human resource management (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Simon & Schuster.
Mowday, R. T., Porter, L. W. & Steers, R. M. (1982). Employee-organization linkages: The Psychology of commitment, absenteeism and turnover. New York: Academic Press.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3 rd ed.). New York. Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 จตุรพร ศุภาสร, ชินวัตร เชื้อสระคู

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.