บทบาทและการรักษาอำนาจของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองในเมียนมา ตั้งแต่ ค.ศ. 1948-2010
คำสำคัญ:
เมียนมา, ทหาร, ผู้ไกล่เกลี่ย, ผู้พิทักษ์, ผู้ปกครองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ที่มา ปัจจัยสิ่งแวดล้อมของการได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมือง และศึกษาบทบาทและการรักษาอำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา ช่วง ค.ศ. 1948-2010 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา สำรวจข้อมูล หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนาเสนอในรูปแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า การได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองเกิดจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง การตกเป็นอาณานิคมและการเมืองโลก จึงทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจการเมืองของกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่อดีตอย่างต่อเนื่อง โดยมีทหารเข้ามาชิงอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกับชนชั้นนำทางการเมืองอื่นๆ นอกจากนี้บทบาทและการรักษาอำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา ช่วง ค.ศ. 1948-2010 โดยใช้ทฤษฎีของเอริค นอร์ดลินเจอร์ เป็นกรอบการวิเคราะห์แล้วพบว่า การได้อำนาจทางการเมืองของทหารและชนชั้นนำทางการเมืองของเมียนมา แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1) ช่วง ค.ศ. 1948-1962 ช่วงการเป็นรัฐชาติเอกราช การเมืองภายในมีความผันผวน ปัญหาเชื้อชาติและอุดมการณ์ทางการเมือง รัฐสภาไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งรัฐบาลพลเรือนของนายอู นุ ไร้เสถียรภาพ เกิดความแตกแยกในประเทศ จำต้องอาศัยความเข้มแข็งของกองทัพหรือทหาร (Tatmadaw) เข้ามารักษาดุลยภาพทางการเมือง ซึ่งอยู่เบื้องหลังในฐานะ “ผู้ไกล่เกลี่ย” 2) ช่วง ค.ศ. 1962-1988 หลังจากได้รับชัยชนะและกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง นายอู นุ ไม่สามารถรักษาอำนาจของตนไว้ เนื่องจากกองทัพได้รัฐประหารทาให้นายพลเนวินซึ่งเป็นผู้นำกองทัพขึ้นปกครองประเทศตลอดระยะเวลาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ช่วงนี้ทหารได้เข้ามามีบทบาทนาในทุกมิติของสังคม โดยเฉพาะด้านการเมือง จึงทาให้บทบาทของทหารในช่วงเวลานี้มีฐานะ “ผู้ปกครอง” และ 3) ช่วง ค.ศ. 1988-2010 รัฐบาลทหารของเมียนมาถูกกดดันจากโลกตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการต่อต้านขึ้นภายในจากนักศึกษา ส่งผลให้นายทหารรุ่นใหม่ยึดอำนาจจากนายพลเน วิน ซึ่งปรับบทบาทกองทัพเพื่อธารงอำนาจทางการเมืองของตนให้คงอยู่ จึงร่างและใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2008 เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจทางการเมืองของทหาร เมื่อเกิดการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากรัฐบาลทหารไปยังรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ปี ค.ศ. 2010 ภายใต้รัฐธรรมนูญทหาร ทหารหรือกองทัพยังได้กำหนดให้ตนเองดำรงอยู่อานาจต่อไปในฐานะ “ผู้พิทักษ์” ของประเทศเมียนมานั่นเอง
References
กฤติธี ศรีเกตุ. (2564). นัตพม่ากับการเมืองวัฒนธรรม: ความสัมพันธ์เชิงอานาจทางการเมืองวัฒนธรรมในพื้นที่ความเชื่อเรื่องนัตในประเทศเมียนมา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(5), 1,820-1,839.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2544). พม่า: ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ลลิตา หาญวงษ์. (2563, กุมภาพันธ์ 14). ไทยพบพม่า ตอน ออง ซาน กับรัฐพม่าสมัยใหม่ (5). ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1967470
วาทิน ศานติ์ สันติ. (2556). พม่า: ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และปัญหาการภายหลังได้รับเอกราช. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/309090.
วิรัช นิยมธรรม. (2554). มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วีรศักดิ์ ฉัตรรุ่งนพคุณ. (2561). การรักษาอานาจของรัฐบาลทหารเมียนมา ค.ศ. 1988-2008. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะสังคมศาสตร์.
ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์. (2565). 2 มีนาคม 1962 “เนวิน” ทารัฐประหาร เปลี่ยนพม่าเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย”. วันนี้ในอดีต. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_6966
เอนกชัย เรืองรัตนากร. (2563). ธุรกิจกองทัพกับการเปลี่ยนผ่านการทางเมืองในเมียนมา ค.ศ. 1958-2020. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alfred, S. (1973). Authoritarian Brazil: Origins, politics, and future. New Haven, CO: Yale University Press.
Arendshorst, J. (2009). The dilemma of non-interference: Myanmar, human rights, and the ASEAN charter. Journal of Northwestern Journal of International Haman Rights, 2(2), 101-121.
Callahan, M. P. (2003). Making enemies: War and state building in Burma. New York: Cornell University Press.
Charney, M. W. (2009). History of modern Burma. London: Cambridge University Press.
Crouch, M. & Ginsburg, T. (2016). Between endurance and change in South-East Asia: The military and constitutional reform in Myanmar and Thailand. International Institute for Democracy and Electoral Assistance.
Finer, S. E. (2006). The man on horseback: The role of the military in politics. New York: Praeger.
Kudo, T., & Kumagai, S. (2011). The United States and Japan: Assisting Myanmar’s development. Washington, DC: Sasakawa Peace Foundation.
Martin, M. F. (2010). Burma’s 2010 elections: Implications of the new constitution and election laws. Washington, DC: Congressional Research Service.
Moe, K. Z. (2017). Author discusses martyrs’day assassination of Aung San. Yangon, Myanmar: The Irrawaddy.
Nordlinger, E. A. (1977). Soldiers and politics: Military coups and governments. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Oo, Z. N. (2018). Myanmar parliaments can change really democracy. Retrieved March 8, 2020, from https://www.academia.edu/9834322 /Myanmar_Parliament/can/really/change
Silverstein, J. (1977). Burma: Military rule and the politics of stagnation. London: Cornell University Press.
Taylor, E. M. (2013). Nations on the move: Burmese migration to Australia. School of Historical and Philosophical Studies, Faculty of Arts, The University of Melbourne.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ธนันท์วัฒน์ สภานุรัตน์, กฤติธี ศรีเกตุ, พัด ลวางกูร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.