บทบาทของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กับความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2504-2564

ผู้แต่ง

  • ธนากร คงขำ นักศึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา, การพัฒนา, ความมั่นคงแห่งชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่ออธิบายบทบาทของกองทัพที่มีต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2504-2564) (2) เพื่อวิเคราะห์ภารกิจและบทบาทของกองทัพต่อความมั่นคงแห่งชาติ และ (3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนารูปแบบโครงการพัฒนาต่างๆ ที่สนับสนุนภารกิจความมั่นคงแห่งชาติ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า บทบาทกองทัพต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 3 บทบาท คือ (1) บทบาทการใช้กำลังพลสู้รบเพื่อความมั่นคงของประเทศจากการรุกรานของต่างชาติ หรือคอมมิวนิสต์ (2) บทบาทในการส่งกำลังพลไปร่วมรบในฐานะมิตรประเทศ และ(3) บทบาทการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนบทบาทกองทัพที่มีต่อความมั่นคงระหว่างประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2504-2564) แยกออกเป็น 2 มิติ คือ ความมั่นคงแบบดั้งเดิมด้วยการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ และความมั่นคงรูปแบบใหม่ มิได้ใช้อาวุธสู้รบ ในส่วนภารกิจและบทบาทของกองทัพต่อความมั่นคงแห่งชาติ มาจาก 4 สถาบันหลัก คือ (1) สถาบันกษัตริย์ (2) สถาบันนิติบัญญัติ (3) สถาบันฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล และ (4) สถาบันทหาร โดยบทบาทของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาในรูปแบบโครงการพัฒนาที่สนับสนุนความมั่นคงแห่งชาติใน 3 ลักษณะ คือ (1) เป็นตัวเชื่อมโยง (2) เป็นตัวร่วมปฏิบัติการ และ (3) เป็นผู้ส่งเสริม โดยการสนับสนุนโครงการฯ ใน 5 รูปแบบ คือ (1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (2) ความมั่นคงทางสังคมวัฒนธรรม (3) ความมั่นคงทางทางเทคโนโลยี (4) ความมั่นคงทางการเมือง และ (5) ความมั่นคงทางของมนุษย์

References

เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. (2535). ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์.

ธีรยุทธ บุญมี. (2550). ความคิดสองทศวรรษวิเคราะห์แนวโน้มการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิช.

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125(26ก), 35-50.

ศุภมิตร ปิติพัฒน์. (2547). การปรับตัวของกระทรวงการต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์: ศึกษากรณีโครงการนาร่องเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สุรศักดิ์ ทองเพชร. (2547). บทบาทของกองทัพเรือไทยในปัจจุบันที่มีผลประโยชน์ของชาติในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bamrungsuk, S. (1988). United States foreign policy and Thai military rule, 1947-1977. Bangkok: Duangkamol.

Stepan, A. C. (2001). “The New Professionalism of Internal Warfare and Military Role Expansion”, in Arguing Comparative Politics. Oxford, UK: Oxford University Press.

Huntington, S. P. (1968). Political Order in Changing Societies. New Haven, CO: Yale University Press.

เผยแพร่แล้ว

16-08-2023

How to Cite

คงขำ ธ. ., & ราชภัณฑารักษ์ ส. . (2023). บทบาทของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กับความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2504-2564. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 214–242. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1835