กลยุทธ์ในการยกระดับการให้บริการประชาชนให้เป็นไปตามเกณฑ์การให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก ของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มนชนัฏ อุดสอน นักศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านสภาพการณ์ภายใน, ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก, กลยุทธ์การดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐานบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ และผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัดฝ่ายประสานแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านสภาพการณ์ภายในที่เป็นจุดอ่อน และจุดแข็ง รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการดำเนินงานเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการประชาชนตามเกณฑ์การประเมินของศูนย์ราชการสะดวก(GECC) ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตลอดจนนำเสนอกลยุทธ์ที่ที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการประชาชนตามเกณฑ์การประเมินการขอรับรองมาตรฐานของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านสภาพการณ์ภายในทั้ง 7 ด้าน เป็นจุดแข็งต่อการดำเนินงานเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการมาตรฐานการของศูนย์ราชการสะดวก ในส่วนของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าปัจจัยด้านระบบการเมืองและระบบเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สร้างโอกาส แต่ปัจจัยด้านระบบเศรษฐกิจและระบบสังคมเป็นอุปสรรคต่อการขับคลื่อนการพัฒนามาตรฐานการบริการฯ ในส่วนของข้อเสนอแนะ คือ (1) กลยุทธ์เชิงรุก ควรเร่งพัฒนาการให้บริการโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ และประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ (2) กลยุทธ์เชิงรับ ควรมีการวางแผนงบประมาณและใช้จ่ายอย่างรัดกุม รวมถึงอาจหาทุนสนับสนุนจากองค์กรภายนอก (3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ควรผลักดันให้ใช้โอกาสจากโครงการฝึกอบรมเพิ่มทักษะในการใช้ระบบดิจิทัลและเทคโนโลยี รวมถึงนำข้อมูลจากการถอดบทเรียนมาปรับใช้ (4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ควรขอความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาบุคลากรและระบบการให้บริการ

References

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง). สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/522637

จันทร์จิรา ก้องท้องสมุทร์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ค่านิยมร่วมขององค์กรกับพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(2), 4-15.

ณัฐพร นิลยาภรณ์ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการฝ่ายทะเบียนและบัตร ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 230-247.

ธนรัฐ นันทนีย์. (2565). แนวทางการพัฒนาศูนย์ดำรงธรรมอำเภอตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC : Government Easy Contact Center). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤดล กลันทกพันธุ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวก :กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมภรณ์ กุลทอง และนิตยา สินเธาว์. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ของศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 25(1), 166-179.

เปมิกา รุณปักษ์ (2563). การปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กรภาครัฐ สู่การเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมเปลี่ยนแปลง (Agile Organization) กรณีศึกษา กรมสรรพากร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาวิชาญ ทรงราษี และเสาวลักษณ์โกศลกิตติอัมพร. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการปฏิบัติงานภาครัฐ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 61-72.

รวิสรา อิ่มกูล. (2565). ความสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการเป็นศูนย์ราชการสะดวก ของสำนักทะเบียนอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2567). คู่มือการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.opm.go.th/opmportal/multimedia phoobeas/ GECC65/manualGECC.

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. (2562). การถอดบทเรียนการขอรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567, จาก https://chiangmai.labour.go.th/index.php?start=4

อัครเดช เดชธิสา. (2565). ความสำเร็จรูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ราชการสะดวก อำเภอสะดวกของกรมการปกครอง: กรณีศึกษาอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมภาษณ์ส่วนบุคคล

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 4, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 5, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 6, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 7, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 8, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 9, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้บริหารและบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ คนที่ 10, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 10 มกราคม 2568

ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด คนที่ 1, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2568

ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด คนที่ 2, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2568

ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด คนที่ 3, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2568

ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด คนที่ 4, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2568

ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด คนที่ 5, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, วันที่สัมภาษณ์ 14 มกราคม 2568

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

อุดสอน ม. . ., & ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ศ. (2025). กลยุทธ์ในการยกระดับการให้บริการประชาชนให้เป็นไปตามเกณฑ์การให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก ของที่ทำการปกครองอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 437–469. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1783