ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการจัดเก็บ, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้งบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) ซึ่งกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้เสียภาษีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความถูกต้องครบถ้วน ด้านการเก็บได้ตามกำหนดเวลา ด้านการจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย และด้านความคุ้มค่าของค่าใช้จ่าย/ต้นทุน
2) ปัจจัยการจัดเก็บภาษี ด้านการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และด้านการประชาสัมพันธ์ มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). คู่มือปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ณัฐชยา พลมณี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประพาฬ วงศ์สุบิน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลในเขตอําเภอแกลง จังหวัดระยอง. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณ.
ประภาศิริ ศิริบำรุง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิชญา แก้วคอน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอสอง จังหวัดแพร่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
รุ่งกมล สุวรรณมิตร. (2557). ปัจจัยทีมีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
รุ้งไพลิน บุญหล้า. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วีรยา ปารมีศรีจรรยา. (2564). การนำพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ไปปฏิบัติกรณีศึกษาอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพร สีสว่าง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ด.
สมคิด บางโม. (2557). ภาษีอากรธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
อรรถพล แสนเรือง. (2559). การพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น สานักงานเขตราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรอุมา กลางทอง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนยาง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989 Business organization and management. Illinois: Irwin.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 Thanida Jitpluem

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.