การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาว โครงการชลประทานสระบุรี

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา จำปา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, เกษตรกรผู้ใช้น้ำ, โครงการชลประทานสระบุรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาวโครงการชลประทานสระบุรี และเพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาว โครงการชลประทานสระบุรี โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 105 คน และประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

            ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาว โครงการชลประทานสระบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการคิดและวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเป็นเจ้าของ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการติดตามผล อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการเสนอแนะ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และ 2. แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาว ได้แก่ (1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน เสนอแนะ และติดตามผล (2) พัฒนาและเพิ่มช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้เกษตรกรสามารถแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้สะดวกขึ้น (3) จัดอบรมและให้ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน (4) สนับสนุนการสร้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีความรับผิดชอบและดูแลรักษาทรัพยากรน้ำร่วมกัน และ (5) ติดตามและปรับปรุงแผนงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

References

การบริหารจัดการน้ำและการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำ. (2566). การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.

คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. (2552). ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.

ฐากูร หอมกลิ่น. (2557). การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปัณณทัต บนขุนทด และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 6(1), 209-222.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, W. John. (1970). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological, 3(1), 1 - 55.

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

จำปา จ. (2025). การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำห้วยหินขาว โครงการชลประทานสระบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 163–184. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1456