การตัดสินใจย้ายของข้าราชการ สายวิทยาการช่างอากาศ กองทัพอากาศ

ผู้แต่ง

  • สิฏฐาพร สว่างเนตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจย้ายของข้าราชการ, ข้าราชการสายวิทยาการช่างอากาศ, บุคลากรกองทัพอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการตัดสินใจย้ายของข้าราชการ สายวิทยาการช่างอากาศ กองทัพอากาศ 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจย้ายของข้าราชการ สายวิทยาการช่างอากาศ กองทัพอากาศที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการสายวิทยาการ กองทัพอากาศ จำนวน 358 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย (t-test) ทดสอบเอฟ (F-test) เมื่อพบนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบรายคู่ด้วยการทดสอบของฟิชเชอร์ (LSD) ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจย้ายของข้าราชการ สายวิทยาการช่างอากาศ กองทัพอากาศ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านภูมิลำเนา รองลงมาคือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านครอบครัว และด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน และอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการตัดสินใจย้ายของข้าราชการกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ชั้นยศ และอายุราชการต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจย้ายของข้าราชการกองวิทยาการ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ ไม่แตกต่างกัน

References

กรรณิการ์ เกตทอง. (2560). สาเหตุและแนวโน้มการลาออก/โอนย้าย ของข้าราชการในหน่วยงานวิชาการกรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.). การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สําหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองทัพอากาศ, กรมกำลังพลทหารอากาศ. (2565). การพัฒนาระบบการแยกประเภทกำลังพลของกองทัพอากาศ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

ก้องนภา ถิ่นวัฒนากูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเทศบาล จังหวัดสระแก้ว. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กรมช่างอากาศ. (2566). ภารกิจและการบริหารจัดการในสายวิทยาการช่างอากาศ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

กรมช่างอากาศ, แผนกบริหารกำลังพล. (2566). ผลกระทบจากการย้ายข้าราชการต่อการดำเนินงานของสายวิทยาการช่างอากาศ. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

คเณศ จุลสุคนธ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่เป็นทางการกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน. วารสารวิจัย มทร., 25(6), 1-21.

เฉลิมเกียรติ พลอยพานิชเจริญ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนย้าย ของพนักงานส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ชิดชนก ศรีรักษ์ และปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 308-322.

ณัฐินี เฟื่องฟูพาณิชย์. (2563). การสูญเสียข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้กับราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุชนาฏ ตันตา. (2563). แรงจูงใจในการขอย้ายของข้าราชการสำนักการเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลยุติธรรม. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุพรรษา พุ่มพวง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พิชญาภา จันทร์วุฒิวงศ์. (2562). สาเหตุและแนวโน้มการโอนย้ายของข้าราชการกรุงเทพมหานครกรณีศึกษา กลุ่มงานพิธีการ ส่วนบริหารกลาง สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐินี เฟื่องฟูพาณิชย์. (2563). การสูญเสียข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้กับราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพล สุวรรณทัต. (2560). สาเหตุที่ทำให้นักบินในส่วนของกองทัพอากาศตัดสินใจออกไปทำงานที่สายการบินพาณิชย์. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภาเพ็ญ โหมาศวิน. (2533). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของสมาชิกในองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทพร ทองลิ้ม. (2563). ผลกระทบของสัมพันธภาพในที่ทำงานและความไม่มั่นคงในงานต่อความตั้งใจลาออกจากงาน ผ่านความสุขในการทำงาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณพรรณ รักษ์ชน. (2555). แนวคิดและทฤษฎี Frederick Herzberg. สืบค้นวันที่ 17 ธันวาคม 2567 จาก https://applerakchon.blogspot.com/2012/10/9-frederick-herzberg

มณฑา เรืองขจร. (2556). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่พยากรณ์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปะ ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey : Prentice – Hall.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York : Harpers and Row.

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper and Row.

เผยแพร่แล้ว

13-07-2025

How to Cite

สว่างเนตร ส. (2025). การตัดสินใจย้ายของข้าราชการ สายวิทยาการช่างอากาศ กองทัพอากาศ. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(2), 92–124. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1437