รูปแบบการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับ การพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2561-2566
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการน้ำ, ภาคตะวันออกของประเทศไทย, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นผลมาจากการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการน้ำและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคตะวันออกของประเทศไทย ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561-2566 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทย ตลอดจนเพื่อสร้างข้อเสนอแนะการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561–2566 ผลการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคตะวันออกของประเทศไทย ประเทศไทยได้ยอมรับหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ นำไปสู่การปฏิรูประบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมมากขึ้นตามหลักการของหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ ปัญหาของการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย มี 2 ลักษณะ ทั้งปัญหาเชิงพื้นที่ และปัญหาเชิงการบริหารจัดการ ตลอดจนการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561–2566 กล่าวคือ 1) การบริหารจัดการน้ำเชิงนโยบาย เป็นการบริหารโครงการศึกษาการจัดทำแผนหลักการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเพื่อให้ได้แนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำหลัก 4 ลุ่มน้ำ 2) การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ภาครัฐให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกรว่าพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจะมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ รัฐบาลไทยจะต้องวางแผนรับมือปัญหาขาดแคลนน้ำ และปริมาณน้ำยังมีเพียงพอสำหรับความต้องการของประชากร
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2550). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กรุงเทพธุรกิจ. (2567). “EEC หนุนเทคโนโลยีจัดการน้ำภาคตะวันออก ชู 4 ข้อเสนอบริหารทรัพยากรยั่งยืน.” 26 กุมภาพันธ์ 2567. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1114411.
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออก. (2562). รายงานการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรม: ศึกษากรณีการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด, วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(2): 223-245.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ ชัยณรงค์ เครือนวน และจิตรา สมบัติรัตนานันท์. (2564). การสำรวจเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1).: 1-25.
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2543). “ชมชนกับการจัดการทรัพยากรน้ำในภาคเหนือ”. ใน อานนท์ กาญจนพันธ์ (บก.). พลวัตของชมชนในการจัดการทรัพยากร สถานการณ์ในประเทศไทย. กรงเทพฯ: สำนกงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ณัฐวิภา จำปาสี. (2562) “ผลการนำนโยบายการบริหารจัดการน้ำตามตัวแบบโคก หนอง นา ไปปฏิบัติในจังหวัดอุดรธานี.” วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธนาคารกรุงเทพ. (2563). “ส่องแผนบริหารจัดการน้ำ ‘อีอีซี’.” 9 เมษายน 2563. https://www.bangkokbanksme.com/en /eec-water-resource-management-plan.
นครินทร์ ศรีเลิศ. (2562). “ถอดบทเรียนพัฒนา ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ มุมมองคณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ “อีอีซี”.” กรุงเทพธุรกิจ. 28 ตุลาคม 2562. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/852382.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561). “ส่องไทม์ไลน์ 4 โครงการ EEC เปิด TOR สัปดาห์หน้า จับตา 31 ราย ใครยื่นซองไฮสปีด 12 พ.ย. นี้.” 3 พฤศจิกายน 2561. https://www.prachachat.net/economy/news-244700.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). “อบจ. ชง “อุโมงค์ยักษ์–ฟลัดเวย์” ทุ่มหลายพันล้าน แก้น้ำท่วม “ระยอง”. 2 ตุลาคม 2565. https://www.prachachat.net/local-economy/news-1066850.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2538). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ต้นทุนการพัฒนาศักยภาพและอนาคตของเศรษฐกิจไทย. คณะเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โพสต์ทูเดย์. (2567). “การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” ถึงเวลาปรับวิธีคิดภาครัฐกันหรือยัง?” 21 กุมภาพันธ์ 2567. https://www.posttoday.com/smart-city/705925.
มูลนิธิเสนาะ อูนากูล. (2567). รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2565, หน้า 113-114.
วรนุช อุษณกร. (2555). องค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานและการดำเนินการจัดตั้ง. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล็อก.
วีณา เตชะพนาดร และภารา จันทร์สุวรรณ์. (2555). “วิกฤตน้ำท่วมใหญ่บทเรียนจากภัยธรรมชาติ.” วารสารเศรษฐกิจและสังคม 49(1), 13–18.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). “บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ: การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2832).” สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จากhttps://www.kasikornresearch .com/th/analysis/k-econ/economy/ Pages/36215.aspx.
สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม. (2561). “สทนช. เร่งศึกษาแผนจัดการน้ำรองรับ ‘EEC’ สร้างสมดุลการใช้–มั่นใจไม่เกิดปัญหาแย่งชิง.” สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2561 จาก https://greennews.agency/?p=18170.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ปรียานุช ธรรมปิยา และมณฑิรา อูนากูล. (2567). รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรีนไลฟ์.
อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. (2565). นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจหลังแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกสู่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2525-2560). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 ชาตรี ทิพยเจือจุน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.