ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา โตกำ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความผูกพันองค์การ, บุคลากร, สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 24 คน และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงาน และอัตราเงินเดือนของบุคลากรไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (3) ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (4) ปัจจัยประสบการณ์ในงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

References

กระทรวงคมนาคม, สำนักงานปลัดกระทรวง. (2566). คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) กระบวนงานสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงคมนาคม. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.mot.go.th/aaic.html?id=9

จรรยา ห่วงเทศ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ภาค208. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2567). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

นภัสสร พรหมเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกระบี่. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2558. (2558, ตุลาคม 1). ราชกิจจานุเบกษา, 132(95ก), 28-31.

พัชร์หทัย จารทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.

ศศิธร วงศ์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริพร พูลสมบัติ. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาดา พรมรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขต 14. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

คนที่ 1 ข้าราชการระดับชำนาญการ. (2567), บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 11 มิถุนายน 2567

คนที่ 2 ข้าราชการระดับชำนาญการ. (2567), บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 11 มิถุนายน 2567

คนที่ 3 ข้าราชการระดับชำนาญการ. (2567), บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 12 มิถุนายน 2567

คนที่ 4 ข้าราชการระดับปฏิบัติการ. (2567), บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 12 มิถุนายน 2567

คนที่ 5 พนักงานราชการ. (2567), บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 12 มิถุนายน 2567

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024