การจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปพนวิช เข็มพิลา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, กรุงเทพมหานคร, สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการความรู้ที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครมีกระบวนการที่มุ่งเน้นการจัดการความรู้ให้เป็นระบบเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง เป็นการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในองค์การจากบุคคลสู่บุคคล เพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครมีกระบวนการในการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน คือ 1.การบ่งชี้ความรู้ 2.การสร้างและแสวงหาความรู้ 3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5.การเข้าถึงความรู้ 6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ  7.การเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้บุคลากรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยง่าย และนำองค์ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพฯ คือ 1.ปัญหาจากความหลากหลายของบุคลากร ทำให้การจัดการความรู้ที่เหมาะสมแต่ละบุคคลในองค์การเป็นไปได้ยาก 2.ปัญหาการจัดเก็บและการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ภายในองค์การอย่างละเอียดในภาพรวม 3.ปัญหาการถ่ายทอดความรู้ที่ยังขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในงานที่อยู่ในตัวบุคคล 4.ปัญหาปริมาณงานและระยะเวลาการปฏิบัติที่จำกัด 5.ปัญหาการสื่อสารและการบริหารจัดการด้านการจัดการความรู้ และ 6.ปัญหาวัฒนธรรมขององค์การ

References

ขวัญพรชนก ธิอักษร. (2563). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงาสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 1-11.

ณัชพร นกสกุล. (2554). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาต้นแบบแผนการสอนอ่านในวิชาทักษะภาษาและ

การสื่อสารสำหรับครูในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

ธนารัตน์ วงศ์ประทุม. (2563). กระบวนการจัดการความรู้ของกองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นวลละออ แสงสุข. (2550). การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง.วิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปัทม์ธนพัฒน์ ลาภจึงเจริญ. (2561). การจัดการความรู้ของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปัทมากร ราชวงศ์. (2560). การจัดการความรู้ของสำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, ตุลาคม 9). ราชกิจจานุเบกษา, 120(100ก), 9.

เพ็ญนภา นันทกุล. (2560). การจัดการความรู้ของหน่วยงานราชการ : กรณีศึกษา กองบริหารทรัพยากรบุคคล

กรมการจัดหางาน.การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภานุวตัร กลิ่นบุบผา. (2563). การจัดการความรู้ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการประปานครหลวง.

การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: มหาวืทยาลัยรามคำแหง.

วินิตย์ ขันดี. (2559). การจัดการความรู้ในการพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ในอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6201 องค์การและนวัตกรรมในองค์การ Organization and the Innovation. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2567). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ศิรินันต์ เพชรแอน. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงเรียนวัดสามง่าม (คงทองอนุสรณ์). วิทยานิพนธ์. นครปฐม: มหาวทิยาลัยศิลปากร.

ศิริรัตน์ เต็มศิริ. (2561). การจัดการความรู้ของสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .การค้นคว้าอิสระ.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร.

สุชาดา สุรางค์กุล. (2563). การจัดการความรู้ Knowledge Management. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024