พลังความมหาศาล: การนำใช้ปรัชญาสุนทรียศาสตร์เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • สิริยา จิตพิมลมาศ นิสิตหลักสูตรศิลปกรรมศาตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมล เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญาสุนทรียศาสตร์, พลังความมหาศาล, ความซับไลม์

บทคัดย่อ

พลังความมหาศาล เป็นศิลปะวิดีทัศน์จัดวางที่นำมโนทัศน์ความงามอันหาที่เปรียบมิได้ของอิมมานูเอล ค้านท์ มาสร้างประสบการณ์เชิงสุนทรียศาสตร์ผ่านวัตถุศิลปะ โดยนำเสนอปรากฏการณ์ธรรมชาติผ่านหน้าจอ Cycloramic ขนาด 14 x 5 เมตร ด้วยเทคนิค Video Projection วิดีทัศน์เป็นภาพซูมช้า ๆ เข้าสู่ใจกลางพายุสายฟ้าที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ เพื่อสู่ความอนันตภาพ โดยมีความน่าสะพรึงกลัวของสายฟ้า พลังพสุธากัมปนาท และบรรยากาศเสียงสายลมพายุ ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเผชิญหน้ากับพายุบนยอดอาคารสูงระฟ้า ประสบการณ์เหล่านี้ได้เผยออกให้เห็นความไร้ขอบเขตและความกว้างใหญ่ไพศาล ในขณะที่ความรู้สึกน่าสะพรึงกลัวถูกปกคลุมด้วยพลังอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากความประหวั่นพรั่นพรึงและความวิตกกังวลต่อพลังการทำลายล้างอันมหาศาล สภาวการณ์ที่ความงามอันหาที่เปรียบมิได้ที่ปรากฏขึ้นนี้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์เชิงเสมือนจริงและประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ขึ้น ในขณะที่ความรู้สึกรื่นรมย์ต่อสภาวการณ์ดังกล่าวก็ปรากฏให้เห็นในงานศิลปะ และจินตนาการที่เป็นอิสระไร้ขอบเขต บทความวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์กระบวนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสร้างความกระจ่างให้กับชุดประสบการณ์ซับไลม์ 2. การทบทวนปรัชญาสุนทรียศาสตร์ซับไลม์และกรณีศึกษาศิลปกรรมร่วมสมัย 3. การวิเคราะห์ประสบการณ์ผ่านระบบปรัชญาสุนทรียศาสร์ซับไลม์ของค้านท์  4. การนำสร้างมโนทัศน์ของการสร้างสรรค์วัตถุเชิงสุนทรียะ

ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการวิจัยที่นำใช้ปรัชญาสุนทรียศาสตร์เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์มีสัมฤทธิผล โดยสามารถสร้างความกระจ่างชัดให้กับประสบการณ์อัตวิสัย ผ่านระบบสุนทรียศาสตร์ซับไลม์พลวัตและคณิตศาสตร์ของอิมมานูเอล ค้านท์ เกิดเป็นการวิเคราะห์ประสบการณ์อย่างเป็นระบบและสามารถนำสร้างมโนทัศน์ในการสร้างสรรค์งานได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยการกระตุ้นเร้าจินตนาชุดความรู้สึกอัตวิสัยเกี่ยวกับความซับไลม์ให้กับผู้รับชม

Author Biographies

กมล เผ่าสวัสดิ์, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์

เกษม เพ็ญภินันท์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

Cárdenas, K. M. P. (2020). Re-Creating the Sublime Experience: An Analysis of Contemporary Art Using

Postmodern Ideas of the Sublime. [Unpublished master’s thesis]. Ferris State University.

Derrida, J. (2017). The Truth In Painting. (trans.) Geoffrey Bennington. Chicago: The University Of Chicago Press.

Eliasson, O. (2003). The Weather Project. (ed.) S. May. London: Tate Publishing.

Kant, I. (1987). Critique of Judgment. (trans.) W. S. Pluhar. Indianapolis: Hackett Publishing.

Makkreel, R. A. (1990). Imagination and Interpretation in Kant: The Hermeneutical Import of theCcritique of

Judgment. Chicago: The University of Chicago Press.

Morley, S. (Ed.). (2010). The Sublime. Cambridge, MA.: The MIT Press.

The Menil Collection. (2022, October 29). From the Archives: The Permanent Installations of Walter De Maria [VDO]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=2cpubs1GI54&list=PLaS1nx1jHnWg9W_c-gkw_bN8PMbtSxBkk&index=1

Weiskel, T. (1987). The Romantic Sublime: Studies in the Structure and Psychology of Transcendence. Baltimore: The Johns Hopkins University Press.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024