ทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • จักรภพ ศรมณี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สิทธิพันธ์ พุทธหุน นักวิชาการอิสระ
  • เฉลิมพล ศรีหงษ์ นักวิชาการอิสระ
  • เดช อุณหะจิรังรักษ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ทัศนคติทางการเมือง, อุดมการณ์ทางการเมือง, พฤติกรรมทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “ทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง”  โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามทั้งแบบปลายปิดและแบบปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำนวน 50 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 16  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ สาขาวิชาที่จบในระดับปริญญาตรี อายุ อายุงาน ภูมิลำเนากับทัศนคติทางการเมือง และเพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาในภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างอายุของกลุ่มตัวอย่างกับทัศนคติทางการเมือง แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างอายุงาน เพศ สาขาวิชาที่จบในระดับปริญญาตรี และภูมิลำเนากับทัศนคติทางการเมือง เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่ามีทัศนคติทางการเมืองในภาพรวมคือ เป็นกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย = 3.31  แต่ถ้าพิจารณาแยกตามตัวชี้วัดเป็นรายตัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติทางการเมืองที่เป็นกลางใน 4 เรื่อง ได้แก่ แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่มีคะแนนเฉลี่ย = 3.22   ค่านิยมเรื่องหลักแห่งความเท่าเทียมกันที่มีคะแนนเฉลี่ย = 2.94   ค่านิยมเรื่องหลักเหตุผลนิยมที่มีคะแนนเฉลี่ย = 3.26 และค่านิยมเรื่องหลักสากลนิยมที่มีคะแนนเฉลี่ย  = 3.00  ส่วนค่านิยมเรื่องหลักมนุษยนิยมนั้นมีคะแนนเฉลี่ย = 4.09  กลุ่มตัวอย่างจึงมีทัศนคติทางการเมืองเป็นเสรีนิยม  

References

จิรชาติ นาคสวัสดิ์. (2540). การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพฑูรย์ มาเมือง. (2565). “ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น” วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(7), 1-9.

ยรรยง สุริยะมณี. (2540). ผลของการอบรมกล่อมเกลาในมหาวิทยาลัยต่อทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วสะ บูรพาเดชะ และอนันต์ โอสถศิลป์. (2563). การวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดและทัศนคติทางการเมืองระหว่างประชากรต่างช่วงวัย. สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2567 จาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/research/data/1240

สุกฤตา สุมะนา. (2561). วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้บริหารสถานศึกษาไทย: กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(2), 179-188.

Baradat, L.P. (2006). Political Ideologies: Their Origins and Impact. NJ: Pearson Prentice Hall.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Test. Psychometrika, (16), 297-334.

Hair, J. F., JR., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970), Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, (30), 607-610.

Neuman, W. L. (1997). Social Research Methods : Qualitative and Quantitative Approaches. (3rd ed.), Allyn and Bacon.

Wikipedia. Left–right political spectrum . retrieved May 29, 2024 from https://en.wikipedia.org/wiki/Left-right_political_spectrum

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024