การนำองค์กรของผู้บริหารต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • เธียรรัตน์ ประยูรเวชช์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การนำองค์กรของผู้บริหาร, ประสิทธิผลตามพันธกิจ, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการนำองค์กรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (2) ประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (3) อิทธิพลการนำองค์กรของผู้บริหารต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารระดับสูงและกลุ่มผู้บริหารระดับ/คณะ/วิทยาลัยใช้การศึกษาจากประชากรทั้งหมดรวม 24 คน กลุ่มผู้บริหารระดับกองและเทียบเท่าจำนวน 66 คน  มาจากกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน รวมทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม

ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการนำองค์กรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในภาพรวมเท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ระดับประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในภาพรวมเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธกิจและการดำเนินงาน และปัจจัยด้านการสร้างประโยชน์ให้สังคม

References

จิราภรณ์ เดชกัลยา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิผลองค์การ : กรณีศึกษาสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ 2(2), 461-470.

ชนิกานต์ ถาวรยุติการต์. (2550). การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรตามแนวคิด Malcolm Baldrigeกรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่:การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 7(3), 126-128.

ณัฐวัชร จันทโรธรณ์, พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์. (2562). ประสิทธิผลองค์กร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9( 2), 1-9.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). แนวทางการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่. ในเอกสารการสอนชุดวิชาขอบข่ายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทพศักดิ์ บุณยรัตนพันธ์. (2551). แนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชา แนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (2551, 25 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา, 125(22 ก), 1-54.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2566ก). ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://hr.rmutr.ac.th/?p=6762

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2566ข). แผนกลยุทธ์ พ.ศ.2565-2570 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). นครปฐม: กองนโยบายแผน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2546). คู่มือการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2555ก). PMQA การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ. ค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566, จาก http://www.opdc.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555ข). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พันลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562) . เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ฉบับปี 2563-2564. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).

อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจนเนอเรชั่นวายในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024