กระบวนการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้บริบทการเมืองไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566
คำสำคัญ:
การบินไทย, การฟื้นฟูกิจการ, การเมืองไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง กระบวนการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้บริบทการเมืองไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) ตัวตนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลและเศรษฐกิจไทย (2) ที่มาของหนี้และความพยายามฟื้นฟูกิจการก่อนเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ (3) แผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสายการบินแห่งชาติของไทย มีการถือหุ้นของกระทรวงการคลังและการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ภายใต้โครงสร้างการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2562 นำโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าสู่กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวมีภาระหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รัฐบาลจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เท่าที่ควร
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ปรับโครงสร้างหนี้ (2) ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างองค์กรและหน่วยงาน โดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะสามารถฟื้นฟูกิจการได้ ด้วยศักยภาพของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และนโยบายหลักของรัฐบาล นำโดยนายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรีที่กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและการยกเลิกวีซ่านักท่องเที่ยว และสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ธุรกิจสายการบินเริ่มกลับมามีแนวโน้นที่ดีขึ้น
References
กระทรวงคมนาคม. (ม.ป.ป.). ประวัติ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566,
จาก https://www.mot.go.th/about.html?id=19
กรุงศรีเพลินเพลิน. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทย และคนทำธุรกิจ SME. สืบค้นเมื่อ กันยายน
, 2566, จาก https://shorturl.asia/zwhbD
กิตติยา เหล็กมั่น. (2561). โครงสร้างและประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), วิทยานิพนธ์รัฐประสาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชีพ จุลมนต์ และ กนก จุลมนต์. (2566). คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
เดอะสแตนดาร์ด. (2566). 22 พฤษภาคม 2557 – คสช. ก่อรัฐประหารรัฐบาลเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://thestandard.co/onthisday22052557/
ไทยรัฐมันนี่. (2564). ชำแหละ "จุดอ่อน" แผนฟื้นฟู "การบินไทย" ชี้ชะตา "สายการบินแห่งชาติ". สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2566, จาก https://shorturl.asia/JWvtf
เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์. (ม.ป.ป.) ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่าจะบักโกรก เทียบชัดรัฐบาลไหนกำไรพุ่ง ขาดทุน. สืบค้นเมื่อ เมษายน 7, 2567, จาก https://teroasia.com/news/187743, 2567
ธนิกุล จันทรา. (2563). การศึกษาโครงสร้างสถาบันและองค์กรในการบริหารจัดการอาสาสมัครด้านภัยพิบัติในระดับท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น: กรณีศึกษาภูมิภาค Tohoku. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
นิธิ จึงสมาน. (2554). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการลูกหนี้, วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บีบีซีนิวส์. (2563ก). วัชชิรานนท์ ทองเทพ, การบินไทย: สำรวจผลการดำเนินงานรอบ 10 ปี กับจำนวนทหาร-ตำรวจในบอร์ด เกี่ยวพันกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53004258
บีบีซีนิวส์. (2563ข). การบินไทย : เปิดรายละเอียดหนี้สิน 3.5 แสนล้านบาท จากลูกค้าที่ยังไม่ได้เงินคืนถึงบริษัทให้เช่าเครื่องบิน. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 9, 2567, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53039223
ปรีดี บุญซื่อ. (2564). ไทยพลับบิก้า. หนึ่งปีที่ไม่มีการเดินทาง โควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่การท่องเที่ยวโลกเสียหายมาก ขนาดไหน. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://thaipublica.org/2021/03/pridi235/
ผู้จัดการออนไลน์. (2556). ชี้ประท้วงที่ ‘ไทย’ กระทบ ‘ท่องเที่ยว’ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อ ‘พื้นฐานดี-ฟื้นไว’. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://shorturl.asia/9ebiW
พีทีวี36เอชดี. (2563). 36ข่าวแห่งปี : เคอร์ฟิว ล็อกดาวน์ โควิด-19 หยุดโลก ไทยอยู่ในพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้านวิกฤตก่อเกิดวิกฤต!!. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://shorturl.asia/BjVgK
โพสต์ทูเดย์. (2557). สภาวะอสมมาตรของสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 4, 2566, จาก https://shorturl.asia/xGouW
วรุณกมล ประเสริฐศรี. (2564). ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อประวิงการชำระหนี้ ศึกษากรณีลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. รายงานเอกัตศึกษา หลักสูตรปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วอยซ์ออนไลน์. (2563). ถาวร' รายงานพิเศษ: เปิดงบฯกำไร-ขาดทุน 7 รบ.ยุคใคร'การบินไทย'เจ๊งสุด- ยุค' ทักษิณ'กำไรพุ่ง. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2566, จาก https://shorturl.asia/NlZVA
เวย์ แมกกาซีน. (2563). การบินไทยจะเป็น ‘สายการบินแห่งชาติ’ ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2566, จาก https://waymagazine.org/national-airways/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 กรัณยพร ปลั่งดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.