ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน : กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศรีสกุล โกมลโรจน์ บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)

คำสำคัญ:

การจัดการ, ขยะมูลฝอย, หมู่บ้านไร้แผ่นดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ใช้แนวทางในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นประชากรในหมู่บ้านไร้แผ่นดินและองค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและรวบรวมข้อมูลเจากเอกสารต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย

ผลการศึกษาพบว่า (1) สาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ สาเหตุจากปัจจัยภายในชุมชน และสาเหตุจากปัจจัยภายนอกชุมชน นอกจากนี้ยังพบอุปสรรคในการจัดการขยะจากของภาครัฐอีกด้วยในเรื่องของงบประมาณ การขาดความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง รวมถึงราคาการรับซื้อขยะพลาสติกที่ค่อนข้างต่ำส่งผลให้ชาวบ้านขาดความกระตือรือร้นในการแยกขยะมูลฝอย (2) แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า เกิดจากการรวมพลังเพื่อพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญ และควรเพิ่มการให้ความรู้ในด้านการจัดการขยะตามลำดับขั้น เพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะจากต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการตรวจสอบและประเมินผลด้านการทำงาน และควรร่วมดำเนินการจัดการขยะตามแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และประชาชนเพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570). ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/02/pcdnew-2023-02-20_06-35-59_190336.pdf

กิรตา ทับทิมงาม. (2563). การกลายมาเป็นเจ้าของโฮมสเตย์ของชาวบ้านชุมชนปากน้ำเวฬุ: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของชุมชนปากน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ (ภูมิศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชมพูนุท ชัยรัตนะ. (2564). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 5(1), 29-49.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2016). ชื่อเป้าหมายย่อย และตัวชี้วัด. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566, จาก https://www.sdgmove.com/sdg-101/

ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. ค้นเมื่อ 16 ต.ค. 66, จากhttps://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2566-2580 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566, จากhttp://nscr.nesdc.go.th /wp-content/uploads/2023/03/masterplan_updated 2023080363.pdf

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2564). ยกระดับการจัดการขยะของโรงเรียนด้วยแนว คิดปลอดขยะแบบองค์รวม กรณีศึกษาโรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2566, จาก https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/317

องค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน. (2564). สภาพสังคม. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2566, จาก http://www.bangchan.go.th/index.php?option=com_content&view= article&id=10&Itemid=60

เอนก ฝ่ายจำปา. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2(1), 1-17.

Kaza, S., Yao, L., Bhada-Tata, P., Van F. (2018). What a Waste 2.0: A Global Snapshot of Solid Waste Management to 2050. Washington, DC, U.S.A.: The World Bank.

UN News. (2023). Hottest July ever signals ‘era of global boiling has arrived’ says UN chief. Retrieved October 13, from https://news.un.org/en/story/ 2023/07/1139162

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024