ภาพยนตร์ใน Netflix กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • วิสาขา เทียมลม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษใน Netflix

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
           บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  กระบวนการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ด้วยภาพยนตร์ใน Netflix ภายใต้หลักการ Passion – based Learning / Space Repetition / Pronunciation  และ  Image Mnemonics เพื่อแสดงถึงขั้นตอนการฝึกฝนทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ฉากในภาพยนตร์ประกอบการฝึกฝน ทำให้ผู้ชมเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเพลินเพลิน  วิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษา คือ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ร่วมกับการยกตัวอย่างฉากในภาพยนตร์เรื่อง john Wick 3 เพื่ออธิบายตามกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง  ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ด้วยสื่อภาพยนตร์ใน Netflix มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เลือกภาพยนตร์และฉากที่ชื่นชอบ เพื่อเรียนรู้ที่ตรงตาม Passion ของผู้เรียนแต่ละคน ตามหลัก Passion – based Learning ขั้นที่ 2 จดคำศัพท์ที่น่าสนใจ เพื่อทบทวนซ้ำๆ ตามหลัก Space Repetition และใช้หลัก Image Mnemonics เพื่อจดจำและเรียนรู้คำศัพท์ วลี และประโยคจากฉากในภาพยนตร์ใน Netflix ผ่านอารมณ์ของนักแสดง และอารมณ์นั้น ๆ สะท้อนกลับมาที่ผู้ชม เกิดเป็นความรู้สึกร่วมกับภาพยนตร์ สร้างเป็นรหัสเป็นภาพในใจด้วยการเชื่อมโยงการรับรู้กับสื่อภาพยนตร์  ขั้นที่ 3 ฝึกออกเสียงตาม โดยใช้หลักการ Pronunciation / Space Repetition และ Image Mnemonics และขั้นที่ 4 ฝึกสร้างประโยคของตัวเองขึ้นมาโดยตั้งต้นจากคำศัพท์ วลี หรือประโยคที่ได้เรียนรู้ในฉากนั้น ๆ แล้วฝึกพูดซ้ำ เพื่อประยุกต์ใช้ในการสื่อสารบริบทต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ภาพยนตร์ใน Netflix สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองได้อย่างเพลิดเพลินและไม่จำกัด

References

เอกสารอ้างอิง

จิรดา เอื้อศิริวัฒนะชัย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารในประเทศไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 3(1), 79-91.

นารีนาถ ห่อไธสง. (2553). การใช้ภาพยนตร์ช่วยพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3, มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ สถาบัน

ราชภัฏมหาสารคาม.

บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: วิจัยเพื่อเรียนรู้วิธีวิจัยหรือเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้บนฐาน Passion: Passion – based Learning. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้, กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2563 จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Passion%20based%20Learning_1570662682.pdf

วิภา อิโน. (2551). การใช้ภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Allen, E. and Vallete, D. (1977). Classroom Techniques: Foreign Language an English as a Second Language. New York: Harcourt Brace Javanovich Inc.

Congos, D. (2006). 9 Types of Mnemonics for Better Memory. Retrieved June 26, 2023, from https://www.learningassistance.com/2006/january/mnemonics.html

Ebbinghaus, H. (1913). Memory: A Contribution to Experimental Psychology. (H. A. Ruger & C. E. Bussenius, Trans.). Teachers College Press. Retrieved March 8, 2024, from https://doi.org/10.1037/10011-000

Education First. (2023). EP EIP : EF English Proficiency Index 2023, a Ranking of 113 Countries and Regions by English Skills. Retrieved March 31, 2024, from https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2023/ef-epi-2023-english.pdf.

Ghadessy, M. (1998). Word Lists and Materials Preparation: A New Approach. English Teachings Forum, 17(1), 24-27.

Handwiki. (n.d.). Biology: Mnemonic. Retrieved February 4, 2024, from

https://handwiki.org/wiki/Biology:Mnemonic#cite_note-2

Hemei, J. (1997). Teaching with Video in an English Class. English Teaching Forum, 35(2), 45-46.

Hu, S. F. (2006). On Teaching Non-English Majors Listening and Speaking Through Videos. China - English Language Education Association Journal. 29 (2), 42-48.

Ho, L. (2023). How to Use Spaced Repetition to Remember What You Learn. Retrieved March 17, 2023, from https://www.lifehack.org/851026/spaced-repetition.

Natthawut Promtara & Kasma Suwannarak. (2018). Thai Students and Teachers’ Perceptions of Learning and Teaching English Through The Communicative Language Teaching Approach. NIDA Journal of Language and Communication, 23(33), pp. 23-42.

Russell, David H. (1961). Children Learn to Read. New York: Ginn and Company.

Van Syoc, B. (1963). Methods of Teaching English as a Foreign Language. Bangkok: The Social Sciences Association of Thailand Press.

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024