การนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
กรณีศึกษา กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, เทคโนโลยีดิจิทัล, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาในการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิจัยสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยกรณีศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน เป็นบุคลากรในสังกัดกองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่1) เครื่องมือหรือฮาร์ดแวร์ 2) ซอฟต์แวร์ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ หน่วยงานไม่มีการสนับสนุนเครื่องมือ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ขาดการมีส่วนร่วมและการวางแผนร่วมกันของหน่วยงานภายในทุกระดับ ทำให้งานมีความซ้ำซ้อน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการปิดกั้นข้อมูลทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน กฎหมาย ระเบียบไม่เอื้อต่อการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เป็นต้น โดยมีแนวทางในการพัฒนาคือ ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร จัดหาเครื่องมือและคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้การทำงานมีความสะดวก รวดเร็ว และจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร Upskill Reskill ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติ และพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถใช้งานได้ร่วมกันทั้งระบบ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่หน่วยงานภายนอกเพื่อลดขั้นตอนในการรายงานข้อมูล
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2566). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566, จาก https://www.dla.go.th/visit/additionalplans66-70.pdf
ชลดา กันคล้อย. (2558). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสหภาพรัฐสภาพ. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
เณศรา ทวีรัตนปัญญา. (2566). การนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS) มาใช้ในการบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษา กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/717
ธัญลักษณ์ จำจด. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566, จากhttps://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6003010243_9703_10824.pdf
นวินดา ลาดกำแพง. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล: กรณีศึกษา กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว กรมการจดัหางาน กระทรวงแรงงาน. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index. php/abstractData/viewIndex/652
พัชราภา โพธิ์อ่อง. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital HR) กับการเพิ่มประสิทธิภาพ การสรรหาบุคลากรในองค์กรธุรกิจค้าปลีก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566, จากttp://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002036165_9792_9810.pdf
พีระจิตรี โสมะภีร์. (2564). การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 : กรณีสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2566_1693539529_6414832072.pdf
รัฐศิรินทร์ วังกานนท์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
รณวีร์ พาผล. (2561). การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสารของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ในพื้นที่น้ำพุร้อน ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1313.
วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ), วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566ก). เอกสารประกอบการบรรยายระบวนวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566ข). เอกสารประกอบการบรรยายระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วีระชัย ประเสริฐโส. (ม.ป.ป.). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566, จาก http://www.personnel.moi.go.th/recruitment/2563/ARTICLE160763_0.PDF.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566, จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2010.478
สุภาภรณ์ สีสุพรรณ์ และ อจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2565). วัฒนธรรมการปรับตัวเพื่อไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8). 246-264.
แสงเพ็ชร พระฉาย และคณะ. (2562). การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 5(1), 97-99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 เอมอร เสือจร, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์, เฉลิมพล ศรีหงษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.