การดำเนินงานด้านการจัดหางานที่ส่งผลต่อผู้ว่างงานในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธันยพร พลรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ผู้ว่างงาน, การดำเนินงานด้านการจัดหางาน, กรมการจัดหางาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานด้านการจัดหางานที่ส่งผลต่อผู้ว่างงานในประเทศไทย ศึกษาปัญหา อุปสรรค และศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาการดำเนินงานด้านการจัดหางาน ของกรมการจัดหางาน โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนของกรมการจัดหางานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอย และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุปจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานด้านการจัดหางานของกรมการจัดหางานที่ส่งผลให้ผู้ว่างงานลดลง ได้แก่ การให้บริการจัดหางานในต่างประเทศ และการแนะแนวอาชีพและส่งเสริมอาชีพ เมื่อจำแนกตามกิจกรรมย่อย พบว่า การให้บริการข้อมูลข่าวสารโดยแผ่นพับ/เอกสารเผยแพร่ การประกาศตำแหน่งงานว่าง การแนะแนวอาชีพเพื่อการมีงานทำ การให้บริการจัดหางานของศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย และการจัดหางานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตส่งผลให้ผู้ว่างงานลดลง ในส่วนของปัญหา และอุปสรรคจากการดำเนินงานพบว่า โดยส่วนใหญ่ผู้รับบริการรับข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต การแนะแนวอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน และการจัดหางานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ส่วนผู้รับบริการจัดหางานในต่างประเทศโดยวิธีกรมการจัดหางานจัดส่งมีเพียงร้อยละ 16.37 และหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมการจัดหางานที่มีผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 14 หน่วยงาน สามารถนำแนวคิดการประเมินผลนโยบายมาใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน

References

กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน. (2565). รายงานผลการศึกษาวิจัยทิศทางแรงงานไทยในอนาคต. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก

https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/1518f36b23b0da4e6a26fb1a5ae262d6.pdf

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ.

ชาลิสา สาคร. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการว่างงานของประเทศไทย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก), 19.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ.

ศวิตา ประไพรัตน์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำโครงการก้าวสู่งานที่ดีคนมีคุณภาพไปปฏิบัติภายใต้ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ประกาศลงวันที่ 24 ตุลาคม 2565). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2566). รายงานการศึกษาค่าคาดการณ์อัตราการว่างงานของประเทศไทย, ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก

https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ebook/2023/20231005143932_50813.pdf

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024