การกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในสังคมไทยกับการประยุกต์ใช้ตัวแบบการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล

ผู้แต่ง

  • กชณิช เวชกาญจนากุล นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมือง) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บริบท, รูปแบบ, ขั้นตอน, การแพร่ระบาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทยกับการประยุกต์ใช้ตัวแบบการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทในการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทย  2) เพื่อศึกษารูปแบบและขั้นตอนการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสังคมไทย ผลการวิจัย พบว่า บริบทด้านสาธารณสุข ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกแรก และ ระลอกที่สอง มีระลอกที่สาม ระลอกที่ห้า และระลอกที่หก มีความไม่แน่นอนทางด้านสาธารณสุขน้อยกว่าระลอกที่สี่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางด้านสาธารณสุขสูงที่สุด ในส่วนของบริบทด้านเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกแรก ระลอกที่สอง ระลอกที่สี่ ระลอกที่ห้า และ ระลอกที่หก มีความทางไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจน้อยกว่า ระลอกที่สาม ซึ่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจสูงที่สุด สำหรับบริบทด้านการเมือง ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกที่หนึ่ง ระลอกที่สอง ระลอกที่สาม และระลอกที่หก มีความไม่แน่นอนทางการเมืองน้อยกว่าระลอกที่สี่ และระลอกที่ห้า ซี่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงสุด

รูปแบบการกำหนดนโยบายทางด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และการเมือง ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจ และได้ยุติการรวมศูนย์อำนาจในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในสังคมไทย ระลอกที่หก ทั้งนี้ ในส่วนของขั้นตอนการกำหนดนโยบายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19ในสังคมไทย มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และคำแนะนำทางเทคนิค 2) การตัดสินใจ และ 3) การสื่อสาร

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), 19 สิงหาคม 2564. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no594-

pdf

กรุงเทพธุรกิจ. (2558). อรรถจักร สัตยานุรักษ์.ความเสี่ยงภายใต้ความไม่แน่นอน. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565,

จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/111246

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (ฉบับที่ 19), ราชกิจจานุเบกษา, 138(80 ง), 53-54.

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (ฉบับที่ 44), ราชกิจจานุเบกษา, 139(98ง), 36-38.

คมชัดลึกออนไลน์. (2565). กสม. ห่วงเจ้าหน้าที่ใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ดำเนินคดีผู้ชุมนุมพร่ำเพรื่อ, 17 กุมภาพันธ์ 2565. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.komchadluek.net/news/505713

ไทยพีบีเอส. (2564). จุรี วิจิตรวาทการ ศึกษาเรื่อง ประเทศไทยประสบความสำเร็จอะไรในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19), ศบค. เคาะลดกักตัวเหลือ 10 วัน ขยายฉุกเฉินถึง 31 พ.ค., 2564, ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/302572

เนชั่นออนไลน์. (ม.ป.ป.) ปิดยาว!! “สถานบันเทิง-สนามมวย” ศบค.ยันไม่ปลดล็อก, ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.nationtv.tv/news/378772916

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 137(69ง), 1.

ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19). (2565, 27 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 139(175ง), 142.

ประกาศ เรื่อง ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง. (2565, 29 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, 139(232ง), 47-48.

ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3). (2564, 27 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. 138 (89 ง), 20-21.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565, 18 กรกฎาคม). “หมอยง” ประเมินโควิดระบาดระลอก 6 คาดมีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคนต่อวัน, ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000067254

พลาดิศัย จันทรทัต. (2562). การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของรายการโทรทัศน์ภาคเย็น. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565,

จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:177720

รัฐบาลไทย. (2565, 7 มกราคม). โฆษก ศบค. ย้ำ การปรับมาตรการเป็นระดับ 4 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 65 ยังสามารถเดินทางได้ โดยขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50310

รัฐบาลไทย. (2564, 1 กุมภาพันธ์). ศบค.มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดถือปฏิบัติมาตรการตามข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 18 และคำสั่ง ศบค. ที่ 2/2564 โดยเคร่งครัด พร้อมสร้างการรับรู้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565,

จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38800

รัฐบาลไทย. (2565, 23 กันยายน). ศบค. เห็นชอบยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯ มอบ สธ. เสนอแผนปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รองรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังต่อที่ประชุม ครม. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59595

สุภิเษก สถิตย์วิมล (2562). การวิเคราะห์เนื้อหารายการทอล์กข่าวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หัตทยา หนูอิ่ม. (2562). การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับโรคโควิด - 19 ของรายการโทรทัศน์ภาคเช้า, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวชน), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Pakes, A. S. (2020). Rational policymaking during a pandemic, economics department, Havard University. Retrieved July 29, 2022, from https://www.pnas.org/doi/10.1073/pnas.201270411

BBC News ไทย.(2021, 21 กรกฎาคม. โควิด-19 : ยุทธศาสตร์วัคซีนที่ถูกเบี่ยงเบน กับความผิดพลาดในการบริหารแผน. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-57915276.

Hfocus. (2565, 23 กันยายน). เจาะลึกระบบสุขภาพ, ยกเลิก พ.รก.ก.ฉุกเฉิน-ยุติ ศบค. มีผล 30 ก.ย. 65 จากนี้ใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ บังคับใช้ตามเดิม. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565, จาก https://www.hfocus.org/content/2022/09/26013

iLaw. (2564, 9 กรกฎาคม). รับมือโควิดเดนมาร์ก: ตัวอย่างรัฐประชาธิปไตย ออกกฎหมายด่วนยังต้องผ่านสภา. ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://ilaw.or.th/node/5628

Thairath Money. (ม.ป.ป.). โควิดระบาดรอบ 3 กดดันเศรษฐกิจไทย EIC ปรับลด GDP ปี 64 เหลือโต 2.0%. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2086250

World Health Organization. (2021, 18 April). COVID-19 Weekly Epidemiological Update. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565,

จาก https://reliefweb.int/report/world/coronavirus-disease-covid-19-weekly-epidemiological-update-18-april-2021

World Health Organization Thailand. (2565, 10 ตุลาคม). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก 2022_10_12_tha-sitrep-249-covid-19_th.pdf (who.int)

เผยแพร่แล้ว

11-02-2024