บทบาทของทหารไทยในการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ส่งผลต่อการเมืองไทย พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2534
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาบทบาทของทหารในการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ส่งผลต่อการเมืองไทย ศึกษาการตัดสินใจของทหารในการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ภายใต้บริบทการเมือง และศึกษารูปแบบ การดำเนินการของทหารในการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ส่งผลต่อการเมืองไทย ใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของทหารในการต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ เป็นการต่อสู้แบบสันติวิธีที่เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความเชื่อและความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย ส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น ภายใต้บริบทการเมืองดังกล่าวทำให้รัฐบาลชุดพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ ที่มุ่งหมายก่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจว่าประชาธิปไตยเป็นของปวงชน และเน้นสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง จัดระเบียบการดำเนินบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ ภายใต้คำสั่ง 66/2523 ได้ใช้รูปแบบแนวทางการป้องกัน แก้ไข ด้วยการส่งเสริมให้เกิดสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรมทางการเมือง กำจัดอิทธิพล กลุ่มมิจฉาชีพทุกประเภท เพื่อให้ประชาชนหันกลับมาสนับสนุนประชาธิปไตย
References
ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2558). ทัศนคติของผู้บริหารระดับสูงต่อบทบาทของทหารในทางการเมือง. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 6(4), 98-108.
ทวี แจ่มจำรัส, ฤาเดช เกิดวิชัย และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2561). บทบาทของนายทหารบกระดับกลางที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 32-44.
ธิกานต์ ศรีนารา. (2547). มติปี 19: ผลการประชุมคณะกรรมการกลาง พคท. ชุดที่ 3 ครั้งที่ 4 กับการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังกรณี 6 ตุลาฯ. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 26(2), 180-221.
นราวดี เกิดจงรักษ์. (2559). การแทรกแซงของทหารและการทำให้เป็นประชาธิปไตย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมือง), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125(26), 35-50.
ฟ้าประไพ ปาละนันทน์. (2562). บทบาททางการเมืองของทหารเรือในห้วงเวลา พ.ศ. 2475-2557. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2562). การแปลงฐานที่มั่นพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว: การเมืองเชิงพื้นที่ในทศวรรษ 2520. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 85-111.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์. (2554). องค์ความรู้เกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สายหยุด เกิดผล. (2549). ชีวิตนี้ มีค่ายิ่ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1978).
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. 2508-2528). ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/cUDs0
อุทัย หิรัญโต. (2506). การป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/pu8DB
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 รัสสิริญญ์ ทองคละ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.