การบริหารจัดการองค์การภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

กรณีศึกษา กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ปิยดา ภู่วิทยาธร นักศึกษาโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการองค์การ, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการองค์การภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อการบริหารจัดการองค์การ จากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 247 กลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลต่อการบริหารจัดการองค์การ พบว่า บุคลากรที่มีเพศ สังกัดกอง/หน่วยขึ้นตรง และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยที่อิทธิพลต่อการบริหารจัดการองค์การ โดยเรียงลำดับตามขนาดความสัมพันธ์จากมากไปน้อยได้แก่ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านวัฒนธรรมการทำงานในองค์การ ด้านนโยบาย/แนวทางปฏิบัติ และด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการองค์การได้ร้อยละ 90.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนก เพ่งจินดา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 12(2), 51-52.

ฉัฐวัฒน์ ชัชณาภัฏฐ์. (2563). การจัดการองค์การในภาวะวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(4), 197-207.

นพรัตน์ บันดาลธนวงศ์, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ และทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). การบริหารองค์การในภาวะล็อคดาวน์ประเทศของภาคธุรกิจไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 209-221.

วารุณี ขำสวัสดิ์ และสิทธิเดช สิริสุขะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 565-581.

ศรีสกุล เจริญศรี. (2558). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุรินทร์ ชุมแก้ว, วิชัย อุตสาหจิต. (2559). วัฒนธรรมการทำงานในองค์การ ภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารในองค์การเอกชน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 56(3),162-193.

แสงเดือน ยิ่งสัมพันธ์เจริญ. (2559). การศึกษาการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบงานศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ), มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล, ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง: เปลี่ยนความท้าทายมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์การอย่างยั่งยืน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 845-860.

เผยแพร่แล้ว

12-07-2025

How to Cite

ภู่วิทยาธร ป. ., & บุญเหลือ ณ. . (2025). การบริหารจัดการองค์การภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19): กรณีศึกษา กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(1), 281–305. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2152