กลุ่มการเมืองในพรรคการเมือง

กรณีศึกษากลุ่มวังน้ำยม-มัชฌิมา -สามมิตร

ผู้แต่ง

  • นวภาคย์ ภัทรลีลา นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการเมือง) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกรียงชัย ปึงประวัติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

กลุ่มการเมือง, พรรคการเมือง, วังน้ำยม– มัชฌิมา-สามมิตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา 1) เหตุผลในการจัดตั้งกลุ่มและการนาไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมือง 2) การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในฐานะกลุ่มการเมือง และ 3) บทบาทและอิทธิพลของกลุ่มต่อพรรคการเมืองและการเมืองไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักการเมืองและอดีตนักการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมิได้เป็นสมาชิกกลุ่มระหว่างปี 2544-2562 ผลการศึกษาพบว่า 1) ในช่วงเริ่มต้นระหว่างปี 2544-2549 กลุ่ม “วังน้ำยม” แม้ว่าจะมีเป้าหมายต่อบทบาท อำนาจและอิทธิพลในพรรคการเมือง แต่กลุ่มมิได้มีบทบาทและอำนาจในพรรคการเมืองแต่อย่างใด เป็นเพียงกลุ่มกิจกรรมที่มีบาทการเมืองเชิงพื้นที่จังหวัด การรักษาฐานเสียง การแลกเปลี่ยน การสร้างความร่วมมือในพื้นที่จังหวัด ด้วยโครงสร้างและระบบพรรคการเมืองที่สังกัดมีความแข็ง ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบของรัฐธรรมนูญปี 2540 2) การเปลี่ยนแปลงไปสู่กลุ่มมัชฌิมาในช่วงปี 2550-2553 บทบาทของกลุ่มในพรรคการเมืองมีมากขึ้นเป็นลำดับ และพัฒนาเป็นพรรคการเมือง ด้วยผลจากสถานการณ์ทางการเมืองและระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ เป็นผลจากการออกแบบระบบพรรคการเมืองของรัฐธรรมนูญปี 2550 และหลังการเลือกตั้งปี 2562 เป็นกลุ่มขนาดใหญ่เสมือนว่าจะมีอำนาจต่อรองในพรรคการเมืองมาก หากแต่โครงสร้างระบบพรรคการเมืองซึ่งออกแบบโดยรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้กลุ่มไม่มีอำนาจและอิทธิพลในพรรคการเมืองมากนัก 3) การดำเนินกิจกรรมวางอยู่บนความพยายามสร้างภาพลักษณ์กลุ่มการเมืองที่เป็นทางเลือกของสังคม ไม่ขัดแย้งกับฝ่ายใด 4) กลุ่มมิได้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจทางการเมืองหากแต่เกี่ยวข้องกับชนชั้นนำทางสังคม ข้าราชการและกลุ่มทุน

References

กิติมา ลิ้มประเสริฐ. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทาในฐานะเป็นทางออกจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 260-267.

เดอะแสตนดาร์ด. (2562). ยุบ 3 พรรคการเมือง พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://thestandard.co/onthisday02122551/

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2553). การปฎิวัติสยาม 2475. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

นนทวุฒิ ราชกาวี. (2549). มัชฌิมาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th.

นิโรจน์ ขอคงประเสิรฐ. (2533). ฝักฝ่ายทางการเมือง: ศึกษากรณีการแบ่งแยกฝักฝ่ายในพรรคประชาธิปัตย์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มติชนออนไลน์. (2561). กลุ่มวังน้ายม อดีตมหาอานาจในไทยรักไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_924482

สันติกะโร ภิกขุ. (2549). จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด. กรุงเทพมหานคร: ระคังทอง.

Beller, D. C. & Belloni, F. P. (1978). Faction politics: Political parties and factionalism in comparative perspective. Santa Barbara, CA: ABC-Clio.

Köllner, P. & Basedau, M. (2005). Factionalism in political parties: An analytical framework for comparative studies. GiGA Working Paper 12. GiGA German Institute of Global and Area Studies.

Warner, C. M. (2000). Confessions of an Interest group: The Catholic church and political parties in Europe. Princeton, NJ: Princeton University Press.

ผู้ให้ข้อมูลสาคัญหลัก

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2554-2557, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565.

ภิมุข สิมะโรจน์, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพรรคไทยรักไทยปี พ.ศ. 2544-2548, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565.

สุวิทย์ คุณกิตติ, อดีตหัวหน้าพรรคกิจสังคม อดีตรองนายกรัฐนตรี และรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยรักไทย, พรรคเพื่อแผ่นดิน, สัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 10 มกราคม 2565.

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

ภัทรลีลา น. ., โซะเฮง น. ., ปึงประวัติ เ. ., & บุญเหลือ ณ. . (2025). กลุ่มการเมืองในพรรคการเมือง : กรณีศึกษากลุ่มวังน้ำยม-มัชฌิมา -สามมิตร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 199–227. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2086